รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

จากแผนแม่บทระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการออกแบบเบื้องต้นโครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แบ่งเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงรัชดา-ลาดพร้าว และช่วงพัฒนาการ-สำโรง ต่อมา รฟม. ได้มีการทบทวนโครงการการดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบรถไฟฟ้าให้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ตลอดแนวเส้นทางตั้งแต่ รัชดา/ลาดพร้าวจนถึงสำโรง ปรับแนวเส้นทางบางช่วง เปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้งและจำนวนสถานี อาคารจอดแล้วจร จึงได้จัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอกากาศ และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.2559

รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ
ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงานฉบับสมบูรณ์)

  1. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
    1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รายละเอียดและกิจกรรมของโครงการที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนตำแหน่งสถานี การเพิ่มสถานี การเปลี่ยนแนวเส้นทาง และการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร
    2. เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงการ
    3. เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ
    4. เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ
  2.  ขอบเขตการศึกษา

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมในรายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ได้ดำเนินกานวิเคราะห์และประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่มีนัยสำคัญตามแนวทางการจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยศึกษาครอบคลุมพื้นที่ตามแนวเส้นทางของโครงการภายในรัศมีข้างละ 500 เมตร จากกึ่งกลางของแนวเส้นทาง ส่วนบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงจะดาเนินการศึกษาภายในรัศมี 1 กิโลเมตรรอบพื้นที่ โดยมีรายละเอียดของแต่ละปัจจัยที่ทำการศึกษา ดังนี้

  • ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมกายภาพ
  1. สภาพภูมิประเทศ
  2. ทรัพยากรดิน
  3. ธรณีวิทยาและแผ่นดินไหว
  4. คุณภาพน้าผิวดิน
  5. คุณภาพอากาศ
  6. ระดับเสียง
  7. ความสั่นสะเทือน
  • ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมชีวภาพ
  1. นิเวศวิทยาทางน้ำ
  2. นิเวศวิทยาทางบก
  • คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
  1. การใช้ประโยชน์ที่ดิน
  2. การคมนาคมขนส่ง
  3. ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
  4. การระบายน้ำและการควบคุมน้ำท่วม
  • คุณค่าคุณภาพชีวิต
  1. สภาพเศรษฐกิจ – สังคม
  2. การโยกย้ายและการเวนคืน
  3. การสาธารณสุข สุขภาพ
  4. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  5. แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และโบราณคดี
  6. ทัศนียภาพและการท่องเที่ยว
  • รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงานฉบับสมบูรณ์)

 

การติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

การติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ประกอบด้วย

  • การตรวจสอบคุณภาพอากาศ ระดับเสียง และความสั่นสะเทือน จำนวน 24 จุดซึ่งเป็นพื้นที่อ่อนไหวต่อการได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล วัด และสถานที่ราชการ ตลอดเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้า ทำการติดตามตรวจสอบ 5 วันต่อเนื่อง (ครอบคลุมวันทำการ 3 วันและวันหยุด 2 วัน) โดยตรวจวัดก่อนเริ่มงานก่อสร้าง จำนวน 1 ครั้ง และทุกเดือน ตลอดระยะเวลาก่อสร้าง

การตรวจสอบคุณภาพอากาศ

การตรวจสอบคุณภาพเสียง

การตรวจสอบคุณภาพความสั่นสะเทือน

  • การตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดิน จำนวน 10 จุด โดยเป็นคลองที่อยู่ใกล้จุดที่มีกิจกรรมการก่อสร้างตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า ทำการติดตามตรวจสอบก่อนเริ่มงานก่อสร้าง จำนวน 1 ครั้ง และทุกเดือนตลอดระยะเวลาก่อสร้าง

การตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดิน

  • การคมนาคมขนส่ง จำนวน 14 แห่ง โดยสำรวจในถนนสายหลัก และถนนสายรองในแต่ละทางแยก ตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ทำการติดตามตรวจสอบ 3 วันต่อเนื่องโดยครอบคลุมวันทำการ 2 วัน และวันหยุด 1 วัน ก่อนเริ่มงานก่อสร้างจำนวน 1 ครั้ง และทุกเดือน ตลอดระยะเวลาก่อสร้าง

  • ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ โดยสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มองค์กรที่ใช้บริการระบบสาธารณูปโภคที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ทำการติดตามตรวจสอบตลอดช่วงเวลาการรื้อย้าย/ เปลี่ยนแปลงระบบสาธารณูปโภคเป็นระยะเวลา 2 ปี

สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มองค์กรที่ใช้บริการระบบสาธารณูปโภค

การติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

          การติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับสัมปทานให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันแก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีการติดตามตรวจสอบเดือนละ 2 ครั้ง ในเวลากลางวัน 1 ครั้ง และกลางคืน 1 ครั้ง

อ้างอิง : รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม