รฟม.เร่งสรุปแบบพื้นที่รถไฟฟ้า2 เส้นอีก3ด.

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมขอใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย -มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการะทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ ในการประชุมได้มีหน่วยเกี่ยว ประกอบด้วย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) /กรมทางหลวง (ทล.) /กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทั้งนี้ ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชุมหารือรายละเอียดแล้วส่วนใหญ่ แต่ยังเหลือบางส่วนโดยในส่วนของพื้นที่รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ซึ่งยังเหลือรายละเอียดอยู่ทั้งหมด 4 จุด คือ บริเวณสะพานทางแยกบางกะปิ-ลำสาลี / บริเวณสะพานข้ามคลองแสนแสบ /บริเวณอุโมงค์ลอดแยกพัฒนาการ /และบริเวณหน้าวัดศรีเอี่ยม อย่างไรก็ตาม ได้มีการหารือเพื่อปรับแบบรายละเอียด เพื่อให้ประชาชนได้รับการเดินทางที่สะดวก และได้รับผลกระทบในส่วนของการเวรคืนน้อยที่สุด

เพิ่มเติม : http://www.banmuang.co.th

ยกเลิกบัสเลนลาดพร้าวขุดรถไฟฟ้า เดอะมอลล์บางกะปิถึงรัชดาลาดพร้าว

ลงมือสายสีเหลืองต้น พ.ย.นี้ นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ประมาณต้นเดือน พ.ย. ผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง จะเริ่มเข้าพื้นที่สำรวจระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน รฟม. จึงได้ทำหนังสือประสานไปยังกองบัญชาการตำรวจนครบาล…

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th

บีทีเอสลุยสร้างโมโนเรล”ชมพู-เหลือง”ธ.ค.นี้

บีทีเอสเซ็นกู้เงิน 6.3 หมื่นล้านลุยโมโนเรล 2 สายแรกประเทศไทย “ชมพู-เหลือง” เผย รฟม.ส่งมอบพื้นที่เปิดไซต์ก่อสร้างทันที ดีเดย์ ธ.ค.นี้ ด้านกรมทางหลวงขอเวลาตรวจแบบรายละเอียด แนะขยับตำแหน่งสถานี สร้างอุโมงค์ระบายน้ำตลอดแนวถนนแจ้งวัฒนะ

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 10 ต.ค. 2560 ได้เซ็นสัญญาเงินกู้ วงเงิน 63,360 ล้านบาท กับสถาบันการเงิน 3 รายใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย และไทยพาณิชย์ สำหรับลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ในการก่อสร้างสถานี ทางวิ่งยกระดับงานระบบเครื่องกลงานระบบอาณัติสัญญาณ ขบวนรถไฟฟ้าโมโนเรลรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ

ขณะนี้อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียดโครงการและรอการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ส่งมอบพื้นที่ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในเดือน ธ.ค.นี้เป็นต้นไป มีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2563

“สัญญาเงินกู้ แบ่งเป็น 2 ฉบับ สำหรับสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี วงเงิน 31,680 ล้านบาท และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 31,680 ล้านบาท เป็นสัญญากู้เงินระยะยาว 14 ปี จะเริ่มชำระนับจากปีที่เปิดเดินรถ” นายสุรพงษ์กล่าว

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด และบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด กล่าวว่า รถไฟฟ้าทั้ง 2 สายเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวโมโนเรล แบบยกระดับ 2 สายแรกของประเทศ และเป็นโครงการร่วมทุนในลักษณะ PPP net cost ระหว่างรัฐและเอกชน โดยบีทีเอสร่วมกับผู้ร่วมลงทุน ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป

โฮลดิ้งส์, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ร่วมลงทุนกันพัฒนาโครงการ จะใช้ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลของกลุ่มบริษัทบอมบาดิเอร์ นับจากนี้จะเริ่มก่อสร้างได้ทันที หลัง รฟม.ส่งมอบพื้นที่แล้ว

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพมีส่วนปล่อยสินเชื่อคิดเป็น 33% ของวงเงินรวม หรือประมาณ 21,120 ล้านบาท จะทยอยเบิกจ่ายตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2561

นายมนตรี เดชาสกุลสม ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 13 (พื้นที่กรุงเทพฯ) กรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า กรมอยู่ระหว่างพิจารณาแบบรายละเอียดก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับสีเหลือง ก่อนจะอนุญาตให้ รฟม.ใช้พื้นที่

โดยสายสีชมพูสร้างบนถนนแจ้งวัฒนะ กรมกำลังพิจารณาสร้างอุโมงค์รับน้ำหรือท่อระบายน้ำใต้ทางเท้าแนวถนนแจ้งวัฒนะใหม่ เนื่องจากพื้นที่เกาะกลางถนนจะหายไปหลังจากมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู เพราะเป็นพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังอยู่แล้ว อีกทั้งยังให้ รฟม.พิจารณาขยับตำแหน่งสถานีหลักสี่ให้มาใกล้กับสายสีแดง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สำหรับสายสีเหลืองอยู่ระหว่างพิจารณาการเข้าใช้พื้นที่ถนนศรีนครินทร์และถนนเทพารักษ์ ที่ดินของแขวงสมุทรปราการตรงแยกต่างระดับศรีเอี่ยม ก่อสร้างทางวิ่ง สถานี และอาคารจอดแล้วจร จะให้ขยับไปยังฝั่งตรงข้าม มีพื้นที่ว่างประมาณ 10 ไร่แทน

ด้านนายสุรพงษ์กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการปรับตำแหน่งสถานีของสายสีชมพูและสีเหลืองแต่อย่างใด ซึ่งบริษัทออกแบบรายละเอียดตามที่ รฟม.ศึกษาไว้ ยกเว้น รฟม.จะไม่ได้รับการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง อาจจะมีการปรับแบบใหม่ในอนาคต

เพิ่มเติม : https://www.prachachat.net

ยืดเวลารถเมล์-รถไฟฟรี ถึง 31ต.ค.นี้

ครม. อนุมัติเงิน 24 ล้านบาท ให้ ขสมก. กรณีเดินรถเชื่อมต่อ 3 สถานีขนส่งโดยสารกรุงเทพฯ หลังจัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะ พร้อมขยายเวลามาตรการรถเมล์-รถไฟฟรี ออกไปอีก 1 เดือน ให้ต่อเนื่องกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  เผยมติคณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ขยายเวลามาตรการรถเมล์และรถไฟฟรีออกไปอีก 1 เดือน จนถึง 31 ตุลาคมนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และเกิดความต่อเนื่องกับการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ขยายเวลารับบัตรสำหรับผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่กรุงเทพฯ และ 6 จังหวัดปริมณฑล ออกไปถึงวันที่ 17 ตุลาคมนี้

เพิ่มเติม : http://www.banmuang.co.th

คมนาคมติดตามแผน Action Plan

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแผนปฎิบัติการ (Action Plan) กระทรวงคมนาคม รวมทั้งหมด 20 โครงการ วงเงินลงทุน 1,383,938.89 ล้านบาท  ว่าที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าแผนดำเนินการ ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการอยู่ทั้งหมด 8 โครงการ โดยภาพรวมการดำเนินการถือว่ายังล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด อาทิเช่นโครงการรถไฟทางคู่ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ความคืบหน้า 36.71 %  ท่าเทียบเรือชายฝั่ง Aที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยมีความคืบ 89.42 % โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง  (ระยะที่ 1 ) ความคืบหน้า 62.08 % โครงการก่อสร้างทางพิเศษ ระหว่างเมืองสายพัทยา – มาบตาพุด ความคืบหน้า  46.97 % โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างสายบางปะอิน – นครราชสีมา ลงนามในสัญญาแล้ว 40 ตอน ความคืบหน้า 16.16 % โครงการ ก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ลงนามในสัญญาแล้ว 24ตอน จากทั้งหมด 25 ตอน เหลือ 1 ตอน ความคืบหน้า 3.32 %   โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย –มีนบุรี (งานโยธา) ความคืบหน้า 20 % และโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะ ที่ 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 งาน จากทั้งหมด 8 งาน

“ถือว่าทั้ง 8 โครงการที่อยู่ระหว่างแผนการก่อสร้างนั้น ยังต่ำกว่าแผนที่กำหนด ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และ สายสีชมพู ที่รัฐบาลได้ให้สัมปทานกับเอกชนไป ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและเตรียมเข้าพื้นที่โครงการ และการจัดจราจรร่วมตำรวจ เนื่องจากแนวถนนรามอินทรา และถนนศรีครินทร์ โดยส่วนใหญ่การก่อสร้างมีความจำเป็นต้องใช้บริเวณเกาะกลางถนนซึ่งการจัดทำแผนคาดว่าจะใช้ระยะเวลา 2 เดือน”

เพิ่มเติม : http://www.banmuang.co.th

รฟม.ชูแผนเร่งดันโครงการรถไฟฟ้าแก้รถติด

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล ที่ปรึกษาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รักษาการ รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) ได้เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อแนวทางและการแก้ไขปัญหาจราจรโดยการบูรณาการระบบขนส่งทางบก ทางน้ำและทางราง ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะอนุกรรมาธิการด้านการคมนาคมทางบกและทางราง ในคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนงานการแก้ไขปัญหาจราจรร่วมกัน โดย รฟม. ได้เร่งรัดผลักดันโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้มีโครงข่ายครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 6 สายทาง 13 โครงการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 253 กิโลเมตร เพื่อช่วยลดปัญหาการจราจร ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

เพิ่มเติม : http://www.banmuang.co.th

‘บีทีเอส’ เลื่อนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง

“บีทีเอส” คาดแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลืองล่าช้ากว่าแผน หลัง “รฟม.” ยังไม่ได้ส่งมอบพื้นที่

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เปิดเผยว่า การเข้าพื้นที่เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง วงเงิน 5.2 หมื่นล้านบาท จะล่าช้ากว่าแผนเดิม เป็นเริ่มก่อสร้างช่วงเดือน ม.ค. 61 หลังการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยังไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ จึงยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้

สำหรับการก่อสร้างต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ระยะทาง 2-3 กิโลเมตร (กม.) เชื่อมต่อไปยังอิมแพค เมืองทองธานี และก่อสร้างต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ระยะทาง 2.6 กม. จากรัชดาไปยังแยกรัชโยธินเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว รฟม.อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ จากนั้นจึงจะเสนอให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจร (คจร.) พิจารณาอีกครั้ง คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 ปี จากนั้นจึจะก่อสร้างได้ คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างได้ภายในกรอบเดิม คือภายใน39 เดือน

อย่างไรก็ตาม บีทีเอส ยังสนใจเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายส้ม ทั้ง ช่วงตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และช่วงตะวันตก ตลิ่งชัน -ศูนย์วัฒนธรรม อีกด้วย เนื่องจากมีกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) คือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมเป็นพันธมิตรที่เข้มแข็ง

เพิ่มเติม : http://www.bangkokbiznews.com

“รายงานวันจันทร์”-ลงมือใน 3 เดือน-ใช้เวลาสร้าง 3 ปี 3 เดือน ที่ตั้ง-เส้นทาง 2 โมโนเรล

เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.2560 ที่ผ่านมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ลงนามสัญญาสัมปทานกับกิจการร่วมค้า BSR (บีทีเอส, ซิโน-ไทย, บริษัทไฟฟ้า ราชบุรีโฮลดิ้ง) เพื่อดำเนินโครงการรถ ไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง…..

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th