รายงานความก้าวหน้าเดือน มีนาคม 2561
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง
ความก้าวหน้าการเตรียมงานก่อสร้าง
1. ความก้าวหน้างานโยธา (ณ วันที่ 30 มีนาคม 2561)
ขณะนี้ผู้รับสัมปทานได้มีการเตรียมงานก่อนการก่อสร้างดังนี้
1.1 รื้อย้ายสาธารณูปโภค บริเวณถนนลาดพร้าว
- บริเวณซอยลาดพร้าว 136
วางท่อประปาขนาด Dia. 1,500 มม. ความยาว 672 ม. - บริเวณซอยลาดพร้าว 128
วางท่อประปาขนาด Dia. 1,500 มม. ความยาว 336 ม. - บริเวณซอยลาดพร้าว 98/1
วางท่อประปาขนาด Dia. 1,500 มม. ความยาว 156 ม. - บริเวณซอยลาดพร้าว 78
วางท่อประปาขนาด Dia. 1,500 มม. ความยาว 396 ม. - บริเวณซอยลาดพร้าว 45
วางท่อประปาขนาด Dia. 1,500 มม. ความยาว 300 ม.
สรุปรวมงานวางท่อประปา Dia.1,500 มม. บนถนนลาดพร้าวได้ความยาวรวม 1,860 ม.
1.2 งานทดสอบเสาเข็ม ที่ สถานีกลันตัน (YL-12)
ได้ดำเนินการ
- ทดสอบ Bored Pile Dia. 1.50 m. x 41.00 m. (Design Safe Load 600 tons) – 30/03/2561
- ทดสอบ Barrette Pile 1.20 m. x 3.0 m. (Design Safe Load 1,400 ton)
1.3 งานทดสอบเสาเข็ม (ต่อ) ที่ หมวดทางหลวงศรีนครินทร์ สำนักงานทางหลวงที่ 13
ได้ดำเนินการเข้าปิดกั้นพื้นที่และดำเนินการขุดเจาะเสาเข็มสมอ (Anchor Pile dia. 1.5 m. x 43.0 m)
6 ต้น และเข็มทดสอบ 2 ต้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- Bored Pile Dia. 1.50 m. x 46.00 m. (Design Safe Load 650 tons)
- Bored Pile Dia. 1.80 m. x 41.00 m. (Design Safe Load 650 tons)
ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำ Pile Cap และเตรียมอุปกรณ์การทดสอบ ตามแผนงานจะทำการทดสอบ Static Compression Load Test และ Static Lateral Load Test ของเสาเข็มดังกล่าว
1.4 งานทดสอบเสาเข็ม (ต่อ) บริเวณทางขึ้น-ลง ที่ สถานีรัชดา (YL01)
เริ่มดำเนินการรื้อย้ายรั้ว และเคลื่อนย้ายเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2561
“เรือแสนแสบ” โชว์ผู้โดยสารโตหลังสร้างรถไฟฟ้า
นายเชาวลิต เมธยะประภาส กรรมการผู้จัดการ และเจ้าของบริษัทครอบครัวขนส่ง (2002) ผู้ให้บริการเรือโดยสารในคลองแสนแสบ เปิดเผยภายหลังการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี ส่วนไปถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว –สำโรง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โดยมีการปิดเบี่ยงการจราจรและรื้อย้ายสะพานยกระดับหลายจุด ทั้งนี้ ถนนรามคำแหง ถนนลาดพร้าว และถนนรามอินทรา โดยเฉพาะบริเวณถนนรามคำแหงส่งผลให้มีการจราจรติดขัด อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารบางส่วนก็หันมาใช้บริการเรือโดยสารคลองแสนแสบเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่มีผู้โดยสารใช้บริการ 50,000 คนต่อวัน เพิ่มเป็น 2,000 คนต่อวัน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าแล้วเสร็จและบริการให้บริการในเชิงพาณิชย์ได้สมบูรณ์
อ่านต่อที่ : http://www.banmuang.co.th
งานด่วน ผู้ว่า รฟม.คนใหม่ เร่งแจกสัมปทานรถไฟฟ้า 3 แสนล้าน
สัมภาษณ์พิเศษ
หลังใช้เวลาเกือบปีในการสรรหา ในที่สุดคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ “ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” รั้งเก้าอี้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คนที่ 6 เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา
สำหรับ “ภคพงศ์” ปัจจุบันอายุ 54 ปี ดีกรีวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต Lamar University, U.S.A. เป็นลูกหม้อ รฟม.มีสไตล์การทำงานออกแนวบู๊ เติบโตตามสายงานก่อสร้าง จากตำแหน่งวิศวกรธรรมดา ได้เลื่อนชั้นเป็นรองผู้ว่าการด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง จนได้รั้งเก้าอี้ใหญ่คุมงานก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 แสนล้าน
“ภคพงศ์” เปิดใจกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภารกิจแรกหลังรับตำแหน่งเม.ย.นี้ จะเร่งเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 101,112 ล้านบาท แยกเป็น 6 สัญญา จะประกาศเชิญชวนกลางปีนี้ รวมถึงเร่งสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ 90,271 ล้านบาทให้เริ่มต้นประกวดราคาภายในปีนี้
นอกจากนี้ จะเร่งเปิดประมูล PPP หาเอกชนเดินรถไฟฟ้า 2 สายทาง ได้แก่ สายสีส้มตลอดสายจากบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 34.6 กม. วงเงิน 35,000-40,000 ล้านบาท ล่าสุดทางบริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างวิเคราะห์จะเป็นรูปแบบ PPP net cost คือ เอกชนรับสัมปทานเป็นผู้จัดเก็บรายได้และแบ่งรายได้ให้แก่ภาครัฐเหมือนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือ PPP gross cost ภาครัฐเป็นผู้จัดเก็บรายได้และจ้างเอกชนเดินรถ โดยจ่ายผลตอบแทนแบบกำหนดราคาเหมือนรถไฟฟ้าสายสีม่วง
“ยังไม่สรุป แต่สายสีม่วงใต้ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงินกว่า 20,000 ล้านบาท เนื่องจากสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ เป็นรูปแบบ PPP gross cost โดย รฟม.จ้าง BEM เดินรถให้ 30 ปี ก็มีโอกาสสูงที่สายสีม่วงใต้จะใช้รูปแบบเดียวกัน เพื่อให้การเดินรถต่อเชื่อมกันด้วยเอกชนรายเดียว”
การจัดหาเอกชนร่วมลงทุน PPP ในส่วนของงานเดินรถ ด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ อาจจะใช้เวลาพอสมควร คาดว่าภายในเดือน มิ.ย.นี้จะนำการเดินรถของสายสีส้มให้ที่ประชุมคณะกรรมการ PPP พิจารณา จากนั้นไตรมาสที่ 3 จะเริ่มเปิดประกวดราคา ขณะที่สายสีม่วงใต้อาจจะล่าช้าออกไป 2 เดือน เนื่องจากบริษัทที่ปรึกษายังทำรายละเอียดไม่สมบูรณ์ แต่ยังไงจะเร่งเปิดประมูลภายในปีนี้
“ผู้ว่าการรถไฟฟ้าป้ายแดง” ยังบอกอีกว่า อีกหนึ่งภารกิจเฉพาะหน้า คือเร่งประสานกรมทางหลวงและกรุงเทพมหานคร ขอใช้พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี กับสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง โดยจะเร่งเคลียร์ให้จบและส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่มบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ-ราชบุรีโฮลดิ้งส์) ผู้ลงทุนก่อสร้างโครงการภายในเดือน พ.ค.นี้ เพื่อเริ่มนับหนึ่งงานก่อสร้างตามสัญญา โดยทั้ง 2 โครงการพร้อมเปิดบริการในปี 2564
ขณะที่โครงการลงทุนในภูมิภาคจะเร่งลงทุนโมโนเรล จ.ภูเก็ต เป็นลำดับแรก ล่าสุดกำลังศึกษารูปแบบ PPP ให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน วงเงิน 23,499 ล้านบาท คาดว่าจะเสนอให้คณะกรรมการ PPP ภายในปีนี้
อีกทั้งยังจะต้องเร่งหารายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ควบคู่ไปด้วย ขณะนี้รอแก้ไขกฎหมายให้อำนาจ รฟม.สามารถนำที่ดินมีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท มาพัฒนาได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลไปยังคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติแล้ว
ตามแผนจะมีที่ดินศูนย์ซ่อมตรงพระราม 9 พื้นที่จอดแล้วจรตามสถานีที่อยู่กลางเมือง เช่น สามย่าน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รัชดาภิเษก พัฒนาเป็นคอมมิวนิตี้มอลล์เล็ก ๆ อีกทั้งยังมีโครงการ TOD นำที่ดินรอบสถานีมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เช่น สถานีคลองบางไผ่ สถานีเพชรเกษม 48 สถานีมีนบุรี หรือพื้นที่จอดแล้วจรขนาดใหญ่ ๆ
“ภคพงศ์” ย้ำว่า การผลักดันงานให้เดินไปข้างหน้าได้ตามเป้าหมาย สิ่งสำคัญที่สุดคือองค์กรที่ต้องทำงานเป็นทีม เป็นหนึ่งเดียวกัน ต้องเปิดใจ และจะไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งขั้วเหมือนที่ผ่านมา
เพิ่มเติม : https://www.prachachat.net
แก้แบบสีชมพู เวนคืนแยกหลักสี่เพิ่ม
แก้แบบสีชมพู เวนคืนแยกหลักสี่เพิ่ม
สีเหลืองย้ายที่ตั้งปาร์กแอนด์ไรด์สถานีวัดศรีเอี่ยม-ทางหลวงเสนอ รฟม. นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้ประชุมหารือร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ซิโน-ไทยฯ ผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง
อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th
เร่งเปิดรีเวิร์สด่วนอาจณรงค์ขุดก่อสร้างรถติดสาหัส
บก.จร.เร่งศึกษาความเหมาะสม พร้อมประสานกับการทางฯให้เปิดได้เร็วที่สุด หวั่นในพื้นราบติดขัดมากขึ้น อาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2561 เวลา 16.30 น.
พล.ต.ต.ธีรศักดิ์ สุริวงศ์ ผู้บังคับการตำรวจราจราจร (ผบก.จร.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการเปิดการจราจรช่องทางพิเศษบนทางด่วนรามอินทรา-เอกมัย ว่า ภายหลังจากที่กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ได้มีการศึกษาความเหมาะสมในการเปิดช่องทางพิเศษ หรือรีเวิร์สซิเบิลเลนส์ บนทางด่วนรามอินทรา-เอกมัย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด เนื่องจากได้รับผลกระทบมาจากการปิดก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ในถนนรามคำแหง เพราะประชาชนโดยส่วนมากจะเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว และหันมาใช้ทางด่วนและถนนประดิษฐ์มนูธรรมเพิ่มมากขึ้น โดยจากการศึกษาเบื้องต้น เห็นว่าสามารถดำเนินการได้ ซึ่งทางตำรวจราจรได้เสนอไปยังการทางพิเศษพิเศษแห่งประเทศไทยแล้ว เพื่อขอดำเนินการปรับกายภาพด้านบนโดยการปรับปรุงและเปิดแบริเออร์ออก เพื่อใช้เป็นช่องทางกลับเข้าสู่ช่องทางปกติ และช่องทางออกสู่ช่องรีเวิร์สซิเบิลเลน โดยขณะนี้การทางพิเศษฯแจ้งว่าอยู่ระหว่างการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการ เนื่องจากการปรับปรุงจะต้องมีค่าใช้จ่าย
อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th
ตลาดคอนโดแนวรถไฟฟ้าสายใหม่คึกคัก
นักวิจัยตลาดชี้คอนโดเกาะรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชมพู เหลือง ไม่น่าห่วงเท่าสายสีม่วง หลังมีบทเรียนปิดการขายช้า นายสุรเชษฐ กองชีพ นักวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า โครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดตัวเกาะแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม…….
อ่านต่อได้ที่ : https://www.posttoday.com
ยกค่าฝุ่นจิ๋วกทม.เป็นภัยพิบัติ อนาคตก่อสร้างอื้อวิกฤตหนักแน่
อดีตอธิบดีคพ.ยกค่าฝุ่นละอองPM2.5ในกทม.เป็นภัยพิบัติ เร่งแก้ปัญหาจราจรห้ามจอดรถริมถนน-จำกัดรถยนต์เข้าเมือง “กทม.”ชี้5ปีจากนี้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า-อาคารใหม่130แห่งทำฝุ่นพิษเมืองกรุงวิกฤตหนัก
ศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 เวลา 16.23 น.
เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ที่กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มีการจัดเสวนาหัวข้อ “หาทางออกร่วมกันในการลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” โดยนายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อดีตอธิบดีคพ.และอาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จากสถิติค่าฝุ่นละออง PM2.5 เมื่อปี 2556 เปรียบเทียบกับปี 2560 ค่าฝุ่นละอองลดลงร้อยละ 25 แต่ค่าฝุ่นที่ลดลงไม่ได้บอกว่าให้วางใจ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทุกปี สิ่งที่หน่วยงานราชการควรทำคือชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจและรับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ทั้งนี้การแก้ปัญหาต้องเกาให้ถูกที่คัน สภาพอากาศที่เป็นตัวแปร ส่วนแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองมาจากการเผาไหม้ของดีเซลจากการจราจรและอุตสาหกรรม ร้อยละ 52 เกิดจากการเผาร้อยละ 35 และเกิดจากการแปรปรวนของของสภาพอากาศผนวกกับการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ ดังนั้นเห็นจำเป็นต้องใช้มาตรการระยะยาวเพื่อลดค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5 ควบคู่กับการใช้มาตรการระยะสั้น 3 เดือน เป็นมาตรการเฉพาะกิจ ช่วงเดือนก.พ.-เม.ย. ของทุกปี และเห็นควรยกระดับขึ้นเป็นภัยพิบัติของประเทศ…
อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th
ทล.ให้ รฟม.เข้าพื้นที่สำรวจรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1126404