งานด่วน ผู้ว่า รฟม.คนใหม่ เร่งแจกสัมปทานรถไฟฟ้า 3 แสนล้าน

สัมภาษณ์พิเศษ

หลังใช้เวลาเกือบปีในการสรรหา ในที่สุดคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ “ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” รั้งเก้าอี้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คนที่ 6 เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา

สำหรับ “ภคพงศ์” ปัจจุบันอายุ 54 ปี ดีกรีวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต Lamar University, U.S.A. เป็นลูกหม้อ รฟม.มีสไตล์การทำงานออกแนวบู๊ เติบโตตามสายงานก่อสร้าง จากตำแหน่งวิศวกรธรรมดา ได้เลื่อนชั้นเป็นรองผู้ว่าการด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง จนได้รั้งเก้าอี้ใหญ่คุมงานก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 แสนล้าน

“ภคพงศ์” เปิดใจกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภารกิจแรกหลังรับตำแหน่งเม.ย.นี้ จะเร่งเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 101,112 ล้านบาท แยกเป็น 6 สัญญา จะประกาศเชิญชวนกลางปีนี้ รวมถึงเร่งสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ 90,271 ล้านบาทให้เริ่มต้นประกวดราคาภายในปีนี้

นอกจากนี้ จะเร่งเปิดประมูล PPP หาเอกชนเดินรถไฟฟ้า 2 สายทาง ได้แก่ สายสีส้มตลอดสายจากบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 34.6 กม. วงเงิน 35,000-40,000 ล้านบาท ล่าสุดทางบริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างวิเคราะห์จะเป็นรูปแบบ PPP net cost คือ เอกชนรับสัมปทานเป็นผู้จัดเก็บรายได้และแบ่งรายได้ให้แก่ภาครัฐเหมือนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือ PPP gross cost ภาครัฐเป็นผู้จัดเก็บรายได้และจ้างเอกชนเดินรถ โดยจ่ายผลตอบแทนแบบกำหนดราคาเหมือนรถไฟฟ้าสายสีม่วง

“ยังไม่สรุป แต่สายสีม่วงใต้ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงินกว่า 20,000 ล้านบาท เนื่องจากสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ เป็นรูปแบบ PPP gross cost โดย รฟม.จ้าง BEM เดินรถให้ 30 ปี ก็มีโอกาสสูงที่สายสีม่วงใต้จะใช้รูปแบบเดียวกัน เพื่อให้การเดินรถต่อเชื่อมกันด้วยเอกชนรายเดียว”

การจัดหาเอกชนร่วมลงทุน PPP ในส่วนของงานเดินรถ ด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ อาจจะใช้เวลาพอสมควร คาดว่าภายในเดือน มิ.ย.นี้จะนำการเดินรถของสายสีส้มให้ที่ประชุมคณะกรรมการ PPP พิจารณา จากนั้นไตรมาสที่ 3 จะเริ่มเปิดประกวดราคา ขณะที่สายสีม่วงใต้อาจจะล่าช้าออกไป 2 เดือน เนื่องจากบริษัทที่ปรึกษายังทำรายละเอียดไม่สมบูรณ์ แต่ยังไงจะเร่งเปิดประมูลภายในปีนี้

“ผู้ว่าการรถไฟฟ้าป้ายแดง” ยังบอกอีกว่า อีกหนึ่งภารกิจเฉพาะหน้า คือเร่งประสานกรมทางหลวงและกรุงเทพมหานคร ขอใช้พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี กับสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง โดยจะเร่งเคลียร์ให้จบและส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่มบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ-ราชบุรีโฮลดิ้งส์) ผู้ลงทุนก่อสร้างโครงการภายในเดือน พ.ค.นี้ เพื่อเริ่มนับหนึ่งงานก่อสร้างตามสัญญา โดยทั้ง 2 โครงการพร้อมเปิดบริการในปี 2564

ขณะที่โครงการลงทุนในภูมิภาคจะเร่งลงทุนโมโนเรล จ.ภูเก็ต เป็นลำดับแรก ล่าสุดกำลังศึกษารูปแบบ PPP ให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน วงเงิน 23,499 ล้านบาท คาดว่าจะเสนอให้คณะกรรมการ PPP ภายในปีนี้

อีกทั้งยังจะต้องเร่งหารายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ควบคู่ไปด้วย ขณะนี้รอแก้ไขกฎหมายให้อำนาจ รฟม.สามารถนำที่ดินมีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท มาพัฒนาได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลไปยังคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติแล้ว

ตามแผนจะมีที่ดินศูนย์ซ่อมตรงพระราม 9 พื้นที่จอดแล้วจรตามสถานีที่อยู่กลางเมือง เช่น สามย่าน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รัชดาภิเษก พัฒนาเป็นคอมมิวนิตี้มอลล์เล็ก ๆ อีกทั้งยังมีโครงการ TOD นำที่ดินรอบสถานีมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เช่น สถานีคลองบางไผ่ สถานีเพชรเกษม 48 สถานีมีนบุรี หรือพื้นที่จอดแล้วจรขนาดใหญ่ ๆ

“ภคพงศ์” ย้ำว่า การผลักดันงานให้เดินไปข้างหน้าได้ตามเป้าหมาย สิ่งสำคัญที่สุดคือองค์กรที่ต้องทำงานเป็นทีม เป็นหนึ่งเดียวกัน ต้องเปิดใจ และจะไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งขั้วเหมือนที่ผ่านมา

เพิ่มเติม : https://www.prachachat.net

“ไพรินทร์” จี้ รฟม.ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย “ส้ม-ชมพู-เหลือง”

เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2561 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมพิจารณาการขอใช้พื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า โดยมีผู้บริหารกรมทางหลวง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เข้าร่วมประชุม

 

อ่านเพิ่มเติม : https://www.prachachat.net/property/news-128040

“อาคม” เปิดละเอียดยิบไทม์ไลน์ประมูลเมกะโปรเจ็กต์ลั่นสิ้นปีกดปุ่มเกลี้ยง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆของรัฐบาลว่า ประเทศไทยห่างหายจากการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานไปนาน หลังโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT และสนามบินสุวรรณภูมิแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2549 ซึ่งรัฐบาลจะเข้ามาขับเคลื่อนให้แผนงานต่างๆเป็นรูปธรรม

 

อ่านเพิ่มเติม : https://www.prachachat.net/hilight-prachachat/news-127523

เร่งต่อขยายสาย “น้ำเงิน-เขียว-ส้ม-แดง” สนข.ชะลอพิมพ์เขียวรถไฟฟ้าเฟส 2

เป็นที่แน่ชัด “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” จะเร่งบรรจุรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล “แคราย-ลำสาลี” เป็นรถไฟฟ้าสายที่ 11 ไว้ในแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-map) ใช้เวลาดำเนินการ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2572

 

อ่านเพิ่มเติม : https://www.prachachat.net/property/news-124119

เปิด 3 ทางเลี่ยงทางลัดถนนลาดพร้าวรับมือปิดจราจรรถไฟฟ้าสายสีเหลืองคืนนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง จะเริ่มปิดเบี่ยงจราจร 24 ชั่วโมง ในวันที่ 19 มกราคม 2561 ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป

โดยระยะแรกจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว 2 จุด คือ จุดที่ 1 ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 136 ถึง ซอยลาดพร้าว 134 ปิด 1 ช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ขาเข้า มุ่งหน้าแยกรัชดา – ลาดพร้าว และจุดที่ 2 ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 45/1 ถึงซอยลาดพร้าว 45 ปิด 1 ช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ขาเข้า

อ่านต่อที่ https://www.prachachat.net/property/news-103764

กทม.ขอปลอดหนี้10ปี ผ่อนปี’73 ปลดแอก 6 หมื่นล้าน รถไฟฟ้าสายสีเขียว-รฟม.ลุยปิดถนนสร้างส้ม-ชมพู-เหลือง

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย ”ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 17 ม.ค.2561 กระทรวงคมนาคม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะประชุมร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เร่งสรุปการรับโอนหนี้สินค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าต่อขยายสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กม. และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 19 กม. วงเงิน 60,860 ล้านบาท ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อปี 2559 ให้โอนโครงการให้ กทม.เป็นผู้บริหาร

เพื่อให้การเดินรถของสายสีเขียวเชื่อมต่อกันทั้งโครงข่าย โดยนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมสั่งเจรจา กทม.ให้จบในเดือน ม.ค.นี้ เพื่อให้ไม่กระทบต่อการเปิดเดินรถช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการในเดือน ธ.ค.2561

“แนวโน้ม กทม.จะยอมรับภาระหนี้ แต่ขอให้รัฐรับภาระค่าเวนคืน 2 เส้นทาง วงเงิน 9,262 ล้านบาท จากเดิมขอให้รัฐรับภาระค่าก่อสร้างโยธาและกทม.จะรับภาระค่างานระบบกว่า 2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น กทม.จะขอกระทรวงการคลังปลอดหนี้ 10 ปี จะชำระคืนในปี 2573 หลังสัญญาสัมปทานกับบีทีเอสสิ้นสุดในปี 2572 ซึ่งทรัพย์สินและรายได้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสจะเป็นของกทม.ทั้งหมด และโครงการจะเริ่มมีรายได้ชำระหนี้ได้”

แหล่งข่าวจาก กทม.กล่าวว่า กทมขอชำระหนี้ปี 2573 เป็นต้นไป แบ่งชำระเป็นรายปี เนื่องจากสัมปทานที่บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) จะสิ้นสุดปี 2572 และทรัพย์สินจะตกเป็นของ กทม.สามารถนำโครงการระดมทุนจากกองทุนอินฟราสตรัคเจอร์ ออกพันธบัตร หรือขอกู้จากสถาบันการเงินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้คืนได้

กทม.คาดการณ์ว่าตั้งแต่ปี 2572-2585 จะมีปริมาณผู้โดยสารจำนวนมาก โดยประเมินว่าจะมีรายได้ 3 แสนล้านบาท เมื่อหักค่าจ้างบีทีเอสเดินรถ 30 ปี วงเงินกว่า 1.64 แสนล้านบาท ยังมีเงินเหลือจะชำระหนี้ให้กระทรวงการคลังได้ เนื่องจากปัจจุบันกทม.ยังไม่เงินก้อนจะชำระหนี้

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รองผู้ว่าฝ่ายบริหารและรักษาการผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า จากความไม่ชัดเจนการรับโอนหนี้สินกับกทม. ทำให้ รฟม.ชะลอการเดินหน้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 2 ช่วง จากสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 9,529 ล้านบาท และคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 6.5 กม. วงเงิน 9,236 ล้านบาท ออกไปก่อน หาก กทม.ยอมชำระหนี้ก็จะยกโครงการ 2 ช่วงนี้ให้ กทม.ดำเนินการเอง

สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 21.2 กม. ขณะนี้ผู้รับเหมาทยอยเข้าพื้นที่เพื่อรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคในแนวถนนรามคำแหงและพระราม 9 โดยวันที่ 17 ม.ค. จะปิดการจราจรขาออกสะพานยกระดับรามคำแหง 30 เดือน และสะพานแยกลำสาลี 6 เดือน จะเริ่มงานก่อสร้างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป และจะแล้วเสร็จปี 2566

ส่วนสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. และสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. ปัจจุบันทยอยส่งมอบพื้นที่และปิดการจราจรบนถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะ และรามอินทราของสายสีชมพูแล้ว ส่วนสายสีเหลืองจะเริ่มทยอยปิดการจราจรบนถนนลาดพร้าวตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.นี้ และในเดือน ก.พ.จะปิดการจราจรฝั่งขาเข้าตลอดถนนลาดพร้าว ส่วนถนนศรีนครินทร์รอการส่งมอบพื้นที่จากกรมทางหลวง (ทล.)
ผลจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ทำให้การเริ่มนับสัญญาสัมปทานกับกลุ่มบีทีเอสซีเอกชนผู้ลงทุนเลื่อนจากเดือน ก.พ.เป็นเดือน เม.ย.2561 เนื่องจากรอสรุปการส่งมอบพื้นที่จากกรมทางหลวงและเอกชนผู้ลงทุนยังออกแบบไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากทั้ง 2 โครงการใช้รูปแบบก่อสร้างไปและออกแบบไป ตามสัญญาจะตามแผนจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน แล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 2564

ทั้งนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนในพื้นที่ รฟม.กำลังพิจารณาจะนำรถเมล์ ขสมก.และเรือคลองแสนแสบเป็นฟีดเดอร์รับส่งประชาชน

เพิ่มเติม : https://www.prachachat.net/property/news-102155

คนลาดพร้าวพร้อมยัง! ศุกร์นี้เริ่มปิดถนนเบี่ยงจราจรสร้าง’รถไฟฟ้าสายสีเหลือง’

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง จะเริ่มปิดเบี่ยงจราจร 24 ชั่วโมง ในวันที่ 19 มกราคม 2561 ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป

โดยระยะแรกจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว 2 จุด คือ จุดที่ 1 ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 136 ถึง ซอยลาดพร้าว 134 ปิด 1 ช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ขาเข้า มุ่งหน้าแยกรัชดา – ลาดพร้าว และจุดที่ 2 ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 45/1 ถึง ซอยลาดพร้าว 45 ปิด 1 ช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ขาเข้า

เพิ่มเติม : https://www.matichonweekly.com

คนลาดพร้าวเตรียมพร้อม! ศุกร์นี้ปิดถนนเบี่ยงจราจรสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง จะเริ่มปิดเบี่ยงจราจร 24 ชั่วโมง ในวันที่ 19 มกราคม 2561 ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป

โดยระยะแรกจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว 2 จุด คือ จุดที่ 1 ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 136 ถึง ซอยลาดพร้าว 134 ปิด 1 ช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ขาเข้า มุ่งหน้าแยกรัชดา – ลาดพร้าว และจุดที่ 2 ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 45/1 ถึง ซอยลาดพร้าว 45 ปิด 1 ช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ขาเข้า

อ่านต่อที่ https://www.prachachat.net/property/news-101891

เปิดค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าหลากสี BTS จี้รัฐเคาะค่าโดยสารร่วม วิน-วิน

น่าสนใจไม่น้อยเมื่อเจ้าพ่อบีทีเอส “คีรี กาญจนพาสน์” ตั้งคำถามถึงบิ๊กคมนาคม “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” ถึงความชัดเจนการกำหนดค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าสารพัดสีสารพัดสายที่จะเปิดบริการในปี 2563 เป็นต้นไป

ไม่ว่าสายสีเขียวต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สายสีชมพูแคราย-มีนบุรี สายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง สายสีน้ำเงินต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค สายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิตและสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี

หากผู้ใช้บริการหลายสายจะต้องจ่ายค่าเดินทางแพงขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ “บิ๊กบีทีเอส” ต้องการให้รัฐคอนเซียส(ตระหนัก) ได้แล้ว เรื่องค่าโดยสารร่วมรถไฟฟ้าแต่ละสาย ตอนนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งบีทีเอสก็พร้อมที่เข้าร่วม แต่รัฐจะต้องช่วยซับซิดี้ค่าโดยสารให้เอกชนบ้าง

“ปี 2563 รถไฟฟ้าสายใหม่จะเปิดอีกหลายสาย สีเขียว น้ำเงิน แดง ชมพู เหลือง โครงข่ายการเดินทางจะสมบูรณ์ ซึ่งบีทีเอสที่เรารับสัมปทานกับ กทม.จะอยู่ตรงกลาง มีสายอื่นวิ่งเข้ามาเชื่อม หากใช้สายหนึ่งต่อไปอีกสายหนึ่ง จะต้องมีค่าแรกเข้าหรือไม่ ถ้ามีเบ็ดเสร็จแล้วค่าโดยสารจะแพงมาก รัฐก็ยังไม่มีการหารือ แต่ผมเริ่มเป็นห่วง เมื่อคนใช้รถไฟฟ้าสีต่าง ๆ ค่าแรกเข้าควรจะเท่าไหร่ บอกว่าจะมีระบบตั๋วร่วมแล้วไง ลดค่าแรกเข้าหรือเปล่า ถ้าลดแล้วรัฐจะซับซิดี้ให้ยังไง จะต้องรู้แล้ว”

ล่าสุด “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังดำเนินการระบบตั๋วร่วมแมงมุม คาดว่าเดือน ต.ค.นี้จะสามารถนำมาใช้บริการกับรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีม่วง(เตาปูน-คลองบางไผ่) และแอร์พอร์ตลิงก์ เป็นรูปแบบบัตรใบเดียวใช้ได้ทั้ง 4 ระบบหรือระบบตั๋วต่อ

“ส่วนค่าโดยสารร่วม เช่น จ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียว จะต้องพิจารณารายละเอียด ซึ่ง สนข.ต้องไปศึกษาแต่ละสัญญามีเงื่อนไขกันยังไงบ้าง จะต้องซับซิดี้ให้เอกชนหรือไม่ ก็ยังไม่สามารถตอบได้ ขอดูรายละเอียดและการศึกษาก่อน”

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รองผู้ว่าการและรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า การพิจารณาค่าแรกเข้าในการใช้รถไฟฟ้าร่วมหลายระบบจะเป็นสเต็ปต่อจากที่ใช้บัตรแมงมุมใบเดียวใช้บริการรถไฟฟ้า 4 สายแล้ว เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับสัญญาสัมปทานเดิมที่ทั้ง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)ดำเนินการอยู่ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาว่าเมื่อรัฐให้ลดค่าแรกเข้า มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นแล้วรายได้เอกชนลดลงหรือเท่าเดิม

“ถ้าเท่าเดิมรัฐก็ไม่ต้องรับภาระให้ การที่ รฟม.รับภาระให้ BEM ในส่วนค่าแรกเข้า 14 บาทของสายสีน้ำเงินหลังเชื่อมต่อกับสายสีม่วงที่สถานีเตาปูน เพราะ BEM ยึดตามสัญญา ส่วนสีชมพูกับสีเหลืองในสัญญาสัมปทานที่ทำไว้กับ BTS กำหนดค่าแรกเข้าแล้ว 14 บาท”

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การที่ภาครัฐยังไม่เชิญ BEM ที่รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจาก รฟม. และ BTSC ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) มาเจรจาถึงแนวทางการกำหนดค่าแรกรถไฟฟ้า เนื่องจากรัฐไม่อยากจะอุดหนุนส่วนต่างให้กับเอกชน เพราะยังไงเอกชนจะต้องให้รัฐซับซิดี้ให้ เพราะเป็นการแก้สิ่งที่นอกเหนือจากสัญญาสัมปทาน

สิ่งที่รัฐทำได้คือต้องรอให้สัมปทานของรถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอสหมดก่อนถึงจะมาเริ่มหาข้อสรุปร่วมกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐที่จะต้องการลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนหรือไม่ ถ้าต้องการก็ต้องรับภาระส่วนต่างตรงนี้ไป เฉลี่ยประมาณ 100 ล้านบาทต่อเดือน

“ปัจจุบันรัฐโดย รฟม.ก็รับภาระค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าใต้ดินหลังมีการเชื่อมต่อกับสายสีม่วง ซึ่งสายสีน้ำเงินรัฐเป็นผู้ลงทุนงานโยธาให้ จะต่างจากบีทีเอสที่เอกชนลงทุนเองทั้งหมด ซึ่งเข้าใจว่าเอกชนคงจะมีคำถามว่า ทำไมสายสีน้ำเงินยังรับค่าใช้จ่ายให้ แล้วการที่รถไฟฟ้าสายใหม่มาเชื่อมกับบีทีเอส หากจะลดราคาแล้วทำไมรัฐจะรับภาระไม่ได้” แหล่งข่าวกล่าวและว่า รัฐสามารถกำหนดค่าแรกเข้าในรถไฟฟ้าสายใหม่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สีม่วง สีชมพู สีเหลือง และสีส้ม ที่กำหนดไม่ได้คือสายสีเขียว ส่วนสายสีแดงอยู่ที่นโยบายจะดึงเข้าร่วมด้วยหรือไม่

สำหรับสายสีเขียวที่มีการสร้างส่วนต่อขยายจากแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มาเชื่อมกับส่วนต่อขยายของ กทม.และส่วนที่เป็นสัมปทานของบีทีเอส ยังเป็นที่กังวลหากไม่มีการลดค่าแรกเข้า และโครงการอยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม.จะต้องเสียค่าโดยสาร 3 ต่อ คือ จ่ายบีทีเอส กทม.และ รฟม. แต่หากอยู่ในความดูแลของ กทม.จะจ่าย 2 ครั้ง คือ บีทีเอสและ กทม. แต่ กทม.ต้องรื้อค่าโดยสารส่วนต่อขยายใหม่ทั้งหมด เนื่องจากระยะทางเพิ่มขึ้น

ด้าน “สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บีทีเอสซี กล่าวย้ำว่า พร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐจัดทำระบบตั๋วร่วมเต็มที่ เพราะได้ร่วมมือกับรัฐมาตั้งแต่ต้นและเป็นรายแรกในการเซ็น MOU หรือบันทึกความร่วมมือกับรัฐเพื่อพัฒนาระบบตั๋วร่วม ซึ่งบริษัทได้พยายามจะให้บัตรตั๋วร่วมสามารถใช้ร่วมกับบัตรแรบบิทได้

อีก 3 ปีข้างหน้า เมื่อมีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าออกไปหลายสายถ้าเป็นสายสีเขียวด้วยกันจะไม่มีค่าแรกเข้า แต่หากเข้าไปใช้ในระบบสายสีอื่น ๆ จะมีค่าแรกเข้า เช่น สายสีชมพู สีเหลือง สีน้ำเงิน ซึ่งตรงนี้บริษัทพร้อมที่จะหารือร่วมกับทุกฝ่ายและภาครัฐเรื่องค่าแรกเข้าเพื่อให้เกิดความพอดี และประชาชนไม่เดือดร้อนให้ win win ทั้ง 3 ฝ่าย

เพิ่มเติม : https://www.prachachat.net/property/news-98086

ลงทุนรถเมล์หมื่นล้านฟีดเดอร์ป้อนรถไฟฟ้า

“คีรี” สนลงทุนธุรกิจรถเมล์ 1 หมื่นล้าน ซุ่มเจรจาซื้อกิจการรถร่วม เป็นฟีดเดอร์ป้อนคนใช้รถไฟฟ้าสารพัดสี พร้อมยกระดับคุณภาพการบริการคมนาคมขนส่งไทย ต่อยอดบัตรแรบบิท

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริหาร บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า มีความสนใจจะเข้าลงทุนเดินรถเส้นทางรถโดยสารประจำทาง เพื่อเป็นฟีดเดอร์ให้กับโครงข่ายรถไฟฟ้าที่จะมีการขยายเส้นทางใหม่ไปยังชานเมืองและเข้าไปในถนนในซอยต่าง ๆ ให้การเดินทางด้านระบบขนส่งสมบูรณ์ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละอียด

“ตอนนี้ยังไม่สรุป แต่เราสนใจจะเข้าไปในธุรกิจนี้ เพราะเดินรถบีอาร์ทีให้ กทม.อยู่แล้ว ถ้าสรุปเมื่อไหร่ ก็พร้อมเริ่มได้ทันที เพราะมีบุคลากรอยู่แล้ว ถามผมว่าทำได้ไหม ทำได้ เพราะเป็นโครงข่ายมาเสริมกับรถไฟฟ้า ผมจะทำให้เรื่องของการจราจรในกรุงเทพฯสมบูรณ์ที่สุด อยู่ที่นโยบายรัฐบาล”

นายคีรีกล่าวว่า สำหรับรูปแบบการดำเนินงานจะมีทั้งซื้อรถใหม่และปรับเส้นทางใหม่ให้สอดคล้องกับเส้นทางรถไฟฟ้า ส่วนรูปแบบการลงทุนมีหลายรูปแบบ เช่น ซื้อกิจการเส้นทางรถเมล์ที่มีอยู่เดิมของเอกชน รถร่วม หรือจะร่วมกัน ยังพิจารณารายละเอียดกันอยู่

“ถ้าผมทำจะทำใหญ่เลย ไม่เล็ก จะได้เปลี่ยนคุณภาพต่าง ๆ ของรถเมล์ให้ดีขึ้น ซึ่งเราก็สนใจเรื่องบัตรโดยสาร e-Ticket บนรถเมล์ด้วย เพราะสามารถใช้ร่วมกับบัตรแรบบิทบีทีเอส และตั๋วร่วมของรัฐได้”

นายคีรีกล่าวว่า ตั้งแต่ปลายปี 2561 เป็นต้นไป รถไฟฟ้าที่บีทีเอสได้รับจ้างเดินรถให้จะเริ่มเปิดบริการครบ ซึ่งภายในเดือน ธ.ค. 2561 สายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กม.จะเปิดบริการเต็มเส้นทางจากปัจจุบันเปิดถึงสถานีสำโรง

จากนั้นปี 2562 จะเปิดบริการสายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 11.8 กม.ก่อน 1 สถานี จากหมอชิต-เซ็นทรัลลาดพร้าว ซึ่งทั้ง 2 เส้นทางจะเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 2563 ขณะที่สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม. และสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30 กม. จะสร้างเสร็จปลายปี 2563 และเปิดบริการในปี 2564 ทำให้มีรถไฟฟ้าให้บริการ 144 กม. และมีคนใช้บริการประมาณ 2 ล้านเที่ยวคนต่อวัน

ยังไม่รวมถึงรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ที่จะเปิดบริการอีก ทั้งสายสีน้ำเงินต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค และสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต คาดว่าจะมีผู้โดยสารอีกจำนวนมากที่มาใช้บริการ ดังนั้นการที่มีระบบฟีดเดอร์ป้อนคนมายังสถานีรถไฟฟ้าง่ายและสะดวกมากขึ้น รวมถึงการใช้บัตรใบเดียวจ่ายค่าโดยสารจะยิ่งทำให้คนมาใช้บริการมากขึ้นอีกอย่างแน่นอน จึงทำให้บริษัทเริ่มศึกษาเพื่อจะเข้ามาลงทุนธุรกิจรถเมล์เป็นโครงข่ายขนส่งเพิ่มเติม

เพิ่มเติม : https://www.prachachat.net/property/news-90364