ดีเดย์ใช้ตั๋วร่วม 23 มิ.ย.นี้ รฟม.ใจดีแจกฟรี2แสนใบ

คมนาคม พร้อมเปิดใช้บัตรแมงมุม 23 มิ.ย.นี้ แจกฟรี 2 แสนใบ ที่สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง 22 มิ.ย.นี้ เล็งพัฒนาเป็นบัตรเครดิตชำระทุกสิ่งด้วยบัตรใบเดียว ด้านรฟม.เร่งแผนเชื่อมตั๋วร่วมเรือ-ทางด่วน-มอเตอร์เวย์หวังเสร็จทุกระบบขนสาธารณะภายในปีนี้ เชื่อบีทีเอสยอมเชื่อมตั๋วร่วมด้วยหวั่นเสียลูกค้า

19 มิ.ย. 61 – นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 มิ.ย. 2561 นี้ จะเป็นวันแรกของการเปิดใให้บริการบัตรแมงมุม หรือ ตั๋วร่วม เพื่อส่งเสริมการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะด้วยบัตรใบเดียว โดยในวันที่ 22 มิ.ย. นี้ ทาง การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเริ่มแจกบัตรฟรีจำนวน 900 ใบตามสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง    หลังจากนั้นจะทยอยแจกอีก 200,000  ใบจนกว่าบัตรจะหมด

สำหรับบัตรแมงมุมี่จะแจกประชาชนนั้น จะเป็นบัตรเปล่าไม่มีเงินอยู่ข้างใน โดยผู้รับสามารถนำบัตรไปเติมเงินได้ที่เคาน์เตอร์ขายตั๋วจำนวน150 บาท แบ่งเป็น ค่ามัดจำบัตร 50 บาทและค่าเดินทาง 100 บาท ซึ่งในช่วงแรกจะเริ่มเชื่อมตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินก่อนในช่วงปลายเดือนนี้ก่อนขยายไปเชื่อมระบบกับรถเมล์จำนวน 2,600 คันและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ในวันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป

สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับคือการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า 2 สายโดยไม่เสียค่าแรกเข้าซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารภาพรวมถูกลงด้วย เช่น การขึ้นรถไฟฟ้าสายสีม่วงแล้วไปต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะเสียค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว จากเดิมต้องเสียค่าแรกเข้าครั้งละ 14-15 บาท นอกจากนี้วงเงินในบัตรแมงมุมยังสามารถนำไปชำระเป็นค่าจอดรถในอาคารจอดรถของรถไฟฟ้าทั้งสองสายตลอดจนนำไปใช้แลกเปลี่ยนสิทธิประโยชน์กับร้านค้าปลีกภายในสถานีรถไฟฟ้าได้อีกด้วย

นายอาคมกล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างพัฒนาบัตรแมงมุมโฉมใหม่ในรูปแบบระบบเทคโนโลยีบัตร EMV (Euro/ MasterCard และ Visa) หรือระบบบัตรเครดิตดิจิทัลที่เป็นสากลมีใช้กันทั่วโลกมาใช้ร่วมในระบบตั๋วร่วม คาดว่าจะสามารถเปิดตัวพร้อมเริ่มใช้งานได้ภายในกลางปีหน้า หรือใช้เวลาพัฒนาราว 12 เดือนนับจากนี้ สำหรับระบบ EMV จะมาในรูปแบบของเครดิตการ์ดที่สามารถใช้โดยสารหรือชำระสินค้าได้เลยโดยไม่ต้องเติมเงินก่อนแต่จะต้องรอชำระเป็นงวดไปตามเงื่อนไขที่กำหนด

นายสมประสงค์ สัตยมัลลี ผู้อำนวยการสำนักธุรกิจบัตรโดยสาร (รฟม.)กล่าวว่า  รฟม.ตั้งเป้าจะเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบให้เข้ามาอยู่ในระบบตั๋วร่วมได้ภายในปี 2561  เริ่มจากการเชื่อมต่อระยะแรกคือรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน ระยะที่สองรถเมล์และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และระยะที่สามภายในปีนี้คือการเชื่อมต่อตั๋วร่วมเข้ากับการขนส่งทางน้ำอย่างเรือด่วนและเรือข้ามฟากที่ผ่านมาเอกชนผู้ให้บริการเห็นด้วยแล้วอีก

ทั้งนี้มีบางส่วนได้ดำเนินการติดตั้งระบบอ่านบัตรไปบ้าง โดยจะใช้ประตูกั้นใหม่คล้ายกับรถไฟฟ้า เช่นเดียวกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)คาดว่าจะเริ่มติดตั้งระบบตั๋วร่วมบนทางด่วนทุกสายได้ในช่วงปลายปีนี้เช่นกัน โดยจะเป็นการติดตั้งระบบเครื่องอ่านบัตร (Reader) ในช่องเก็บเงินธรรมดา (Cash) ขณะที่มอเตอร์เวย์สาย 7 ช่วงกรุงเทพ-พัทยาและมอเตอร์เวย์สาย 9 บางปะอิน-บางนานั้นจะติดตั้งระบบตั๋วร่วมและเครื่องอ่านบัตรแล้วเสร็จพร้อมใช้ได้ภายในปีนี้เช่นกัน

“การเชิญชวนผู้บริหารรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างบีทีเอสให้มาเข้าร่วมกับระบบตั๋วร่วมนั้น เป็นเรื่องที่ต้องเจรจากันต่อไป เนื่องจากบีทีเอสมีระบบบัตร Rabbit ซึ่งมีวงเงินรวมกันนับหมื่นล้านบาท  ดังนั้นจึงต้องหารือกับเอกชนอย่างใกล้ชิดว่า จะมีแนวทางอย่างไรและดำเนินการได้พร้อมกันในปีนี้หรือไม่  แต่อย่างไรก็ตามการรัฐบาลได้กำหนดให้โครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ทุกสายที่กำลังจะเปิดใช้ต้องเข้าร่วมบัตรแมงมุม อาทิ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง รถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นต้น ดังนั้นจึงเชื่อว่าหากประชาชนผู้ใช้ตั๋วร่วมมีมากขึ้น จะเป็นแรงกดดันให้เอกชนต้องมาเข้าร่วมระบบตั๋วร่วมไปตามการช่วงชิงโอกาสตลาด

อ่านต่อได้ที่ : https://www.thaipost.net/main/detail/11683

อาคม สั่งพัฒนาใช้มือถือจ่ายค่าโดยสาร – ดีเดย์ 22 มิ.ย.แจกบัตรแมงมุม 2 แสนใบ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. กระทรวงคมนาคม นำเสนอบัตรแมงมุม หรือบัตรตั๋วร่วมเดินทางได้ทุกระบบในที่ประชุมครม. โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความขอบคุณกระทรวงคมนาคมที่ทำสำเร็จ และสั่งการให้มีการขยายการมใช้บัตรแมงมุมไปในยังการเดินทางระบบอื่นๆ ด้วย

โดยวันที่ 22 มิ.ย. นี้ ตนจะเดินทางไปเป็นประธานในพิธีแจกบัตรแมงมุมที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน จำนวนรวม 900 ใบ ซึ่งบัตรที่แจกในวันดังกล่าวจะมีความพิเศษคือมีการเติมเงินมัดจำในบัตรไว้ให้แล้ว 50 บาท ผู้โดยสารสามารถนำบัตรไปเติมเงินค่าเดินทางขั้นต่ำ 100 บาท สามารถใช้เดินทางได้ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ในวันดังกล่าวประชาชนยังสามารถนำบัตรประชาชนมาขอรับบัตรได้ที่ทุกสถานีของรถไฟฟ้าสายสีม่วงโดยจะแจกไปจนกว่าบัตรที่ผลิตจำนวน 2 แสนใบจะหมด ซึ่งบัตรในส่วนนี้จะไม่มีการเติมเงินมัดจำบัตร 50 บาทไว้ให้ สำหรับในระยะแรก บัตรแมงมุมจะสามรถนำไปใช้ ได้เฉพาะรถไฟฟ้าสายสีม่วงและน้ำเงินเท่านั้น และในเดือนต.ค. 2561 จะสามารถใช้ได้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ และรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำร่องจำนวน 2,600 คัน

นายอาคม กล่าวว่าขณะนี้ มอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประเมินความต้องการบัตรแมงมุมด้วยว่าประชาชนมีต้องการเพิ่มหรือไม่หากต้องการเพิ่มจะต้องผลิตเพิ่มตามความต้องการ เพราะในเดือนต.ค. นี้ บัตรแมงมุมจะนำสามารถมาใช้กับรถเมล์โดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ด้วยซึ่งเป็นระบบที่มีประชาชนเดินทางจำนวนมาก โดยในอนาคตบัตรแมงมุมจะมีการขยายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ถือบัตรมากขึ้น โดยดึง ร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น และร้านค้าอื่นๆ เข้าร่วมทำโปรโมชั่น รวมทั้งหารือธนาคารพาณิชย์เพื่อทำโปรโมชั่นการใช้จ่ายผ่านบัตรสามารถสะสมเป็นคะแนนสามารถนำมาแลกเป็นเงินคืนในบัตรโดยสารได้ด้วย

นอกจากนี้ ยังเร่งรัดให้ รฟม. เร่งรัดการพัฒนา ระบบอีเอ็มวี (Euro/ Master Card และ Visa) หรือบัตรเครดิตที่สามารถชำระค่าโดยสารในระบบตั๋วร่วมให้แล้วเสร็จภายใน 10-12 เดือน ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้ 18 เดือน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนมากขึ้น รวมทั้งศึกษาพัฒนาระบบการจ่ายค่าโดยสารผ่านมือถือโดยที่ไม่ต้องใช้บัตรเพิ่มเติมด้วย

นายไพรินท์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการหารือให้ รถไฟฟ้าบีทีเอส ให้เข้าร่วมในระบบบัตรแมงมุมว่า ปัจจุบันบันบีทีเอสอยู่ระหว่างพิจารณา เพราะขณะนี้พบว่าบีทีเอสมีรายได้จากดอกเบี้ยรับจำนวนมาก จากการที่ประชาชนเติมเงินในบัตรแรบบิทซึ่งมียอดเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากจะต้องยกเลิกบัตรแรบบิท และเข้าร่วมกับบัตรระบบอื่น บีทีเอสก็อาจจะเสียดายส่วนนี้

อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตประชาชนให้ความสนใจใช้บัตรแมงมุมจำนวนมาก เชื่อว่าบีทีเอสจะเข้าร่วมระบบบัตรแมงมุม เพราะเชื่อว่าความสะดวกของผู้บริโภคที่ใช้บริการจะเป็นตัวตัดสิน รวมทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างนั้น รฟม. ได้กำหนดในเงื่อนไขทีโออาร์ว่าประชาชนต้องสามารถนำบัตรแมงมุมมาใช้ ชำระค่าโดยสารในการเดินทางรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายได้ด้วย

อ่านต่อได้ที่ : https://www.khaosod.co.th/economics/news_1237025

รฟม.แจ้งเบี่ยงจราจรช่วงคลองตาสาด-ซ.ศรีนครินทร์ 61

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนศรีนครินทร์ บริเวณคลองตาสาด ถึง ซอยศรีนครินทร์ 61 ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โดยมีแผนจะทยอยปิดทีละจุด เป็นระยะๆ โดยในช่วงแรกจะปิด 2 จุด ดังนี้

จุดที่ 1 บริเวณคลองตาสาด ถึง ซอยศรีนครินทร์ 47 ปิดช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ฝั่งขาออก 1 ช่องทาง ระยะทาง 250 เมตร ตลอด 24 ชั่วโมง
จุดที่ 2 บริเวณหน้าศูนย์การค้า HaHa ถึง ซอยศรีนครินทร์ 51 ปิดช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ฝั่งขาเข้า 1 ช่องทาง ระยะทาง 250 เมตร ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ การเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจร ได้ที่เบอร์โทร 0 2610 4915 และ 09 8257 5555

อ่านต่อได้ที่ : http://www.banmuang.co.th/news/economy/115527

“BTS” เลิกบัตรแถบแม่เหล็กเปลี่ยนใช้สมาร์ทการ์ด

แบบเที่ยวเดียว รองรับส่วนต่อขยายสายสีเขียว สำโรง-ปากน้ำ สายสีชมพู และสีเหลือง เริ่มทยอยเปลี่ยน 8 สถานีแรกก่อน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผอ.ใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพเปิดเผยว่า บริษัทจะเปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียวจากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง เพื่อเปลี่ยนเป็นบัตรเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นรองรับส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ ซึ่งจะเปิดบริการปลายปีนี้ และเตรียมไว้รับช่วงหมอชิต – คูคต สายสีชมพู แคราย – มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว – สำโรง

ทั้งนี้ บริษัทจะเปลี่ยนตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติทั้งหมดให้เป็นแบบจอสัมผัส ประมาณ 200 ตู้ และติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วที่มีช่องรับธนบัตรเพิ่มอีก 50 ตู้ เพื่อติดตั้งตามสถานีต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส พร้อมกันไปด้วย ซึ่งจะเริ่มทยอยเปลี่ยนตั้งแต่เดือนมิ.ย.61 ใน 8 สถานีแรก และจะขยายจนครบทุกสถานีในเดือนพ.ย.นี้

สำหรับการเปลี่ยนระบบนี้จะทำให้ตู้จำหน่ายตั๋วและประตูอัตโนมัติเข้า และออกสถานี ที่กำลังเปลี่ยนไม่สามารถใช้ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวแบบแถบแม่เหล็กรวมทั้งบัตรโดยสารประเภท 1 วันได้ แต่ยังคงใช้บัตรแรบบิทได้ บริษัทจึงจัดแผนทยอยสลับเปลี่ยนไปตามสถานีต่างๆ เพื่อให้กระทบกับผู้โดยสารน้อยที่สุด

อ่านต่อได้ที่ : https://siamrath.co.th/n/37817

รฟม.แจ้งปิดเบี่ยงจราจร ถ.ศรีนครินทร์

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนศรีนครินทร์ 4 จุด บริเวณแยกลำสาลี เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคประกอบด้วย จุดที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 23 – 25 มิถุนายน 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง ปิดช่องจราจรช่องทางที่ 1 ฝั่งขาออก มุ่งหน้าพัฒนาการ ระยะทางประมาณ 40 เมตร

จุดที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 26 -29 มิถุนายน 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง ปิดช่องจราจรช่องทางที่ 1 ฝั่งขาเข้า มุ่งหน้าบางกะปิ ระยะทางประมาณ 40 เมตร จุดที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง ปิดช่องจราจรช่องทางที่ 1 ฝั่งขาออก มุ่งหน้าพัฒนาการ ระยะทางประมาณ 40 เมตรและจุดที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 3 – 6 กรกฎาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง ปิดช่องจราจรช่องทางที่ 2 ฝั่งขาออก มุ่งหน้าพัฒนาการ ระยะทางประมาณ 40 เมตร

อ่านต่อได้ที่ : https://www.innnews.co.th/social/news_114010/

รฟม.แจ้งเบี่ยงจราจรช่วงแยกลำสาลี4จุด 24ชม.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนศรีนครินทร์ 4 จุด บริเวณแยกลำสาลี เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โดยมีรายละเอียดดังนี้

จุดที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 23 – 25 มิถุนายน 2561 (3 วัน) ตลอด 24 ชั่วโมง ปิดช่องจราจรช่องทางที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) ฝั่งขาออก มุ่งหน้าพัฒนาการ ระยะทางประมาณ 40 เมตร

จุดที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 26 – 29 มิถุนายน 2561 (4 วัน) ตลอด 24 ชั่วโมง ปิดช่องจราจรช่องทางที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) ฝั่งขาเข้า มุ่งหน้าบางกะปิ ระยะทางประมาณ 40 เมตร

จุดที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 (3 วัน) ตลอด 24 ชั่วโมง ปิดช่องจราจรช่องทางที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) ฝั่งขาออก มุ่งหน้าพัฒนาการ ระยะทางประมาณ 40 เมตร

จุดที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 3 – 6 กรกฎาคม 2561 (4 วัน) ตลอด 24 ชั่วโมง ปิดช่องจราจรช่องทางที่ 2 ฝั่งขาออก มุ่งหน้าพัฒนาการ ระยะทางประมาณ 40 เมตร

ทั้งนี้ การเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจร ได้ที่เบอร์โทร 0 2610 4915 และ 09 8257 5555

อ่านต่อได้ที่ : http://www.banmuang.co.th/news/economy/115338

BTS เปลี่ยนบัตรเที่ยวเดียว เป็นสมาร์ทการ์ด

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯจะเปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว จากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง (Thin Card) ที่มีความบางมากกว่าบัตรแรบบิทการ์ดหรือบัตรทั่วไป เพื่อเปลี่ยนเป็นบัตรเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้นและรองรับการใช้งานในส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ ซึ่งจะเปิดให้บริการประมาณปลายปี2561 นี้ และเตรียมไว้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง การเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียวนี้บริษัทฯจะเปลี่ยนตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติทั้งหมดให้เป็นแบบจอสัมผัส (Touch Screen) รวมประมาณ 200 ตู้ และติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วที่มีช่องรับธนบัตรเพิ่มอีก 50 ตู้ เพื่อติดตั้งตามสถานีต่างๆในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส พร้อมกันไปด้วย ซึ่งจะเริ่มทยอยเปลี่ยนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 ใน 8 สถานีแรก คือ สถานีสยาม สถานีช่องนนทรี สถานีกรุงธนบุรี สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีตลาดพลู สถานีบางหว้า สถานีอุดมสุข และสถานีแบริ่ง จากนั้นก็จะขยายไปจนครบทุกสถานีโดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2561 รวมระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน ทั้งนี้ บริษัทฯจึงได้จัดแผนทยอยสลับเปลี่ยนไปตามสถานีต่างๆ เพื่อให้เกิดผลกระทบกับผู้โดยสารน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทฯก็ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่จะเกิดขึ้นในช่วงของการปรับเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารบ้าง

อ่านต่อได้ที่ : https://www.thairath.co.th/content/1310569

“บีทีเอส” ทยอยเปลี่ยนบัตรโดยสารเที่ยวเดียว “แตะเข้า-สอดออก” แทนแถบแม่เหล็ก

รถไฟฟ้าบีทีเอส เตรียมเปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว จากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง ทยอยเปลี่ยน 8 สถานีแรก เดือนนี้ แล้วเสร็จ พ.ย. นี้ ผู้โดยสารเข้าประตูสถานีเปลี่ยนจากเสียบบัตรเป็นแตะบัตรเพื่อเปิดประตู ถึงปลายทางสอดบัตรเพื่อคืนเหมือนเดิม

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เปิดเผยว่า บริษัทฯ จะเปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียวจากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง (ThinCard) ที่มีความบางมากกว่าบัตรแรบบิท หรือบัตรทั่วไป เพื่อเปลี่ยนเป็นบัตรเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้น รองรับการใช้งานในส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสำโรง – สมุทรปราการ ซึ่งจะเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2561 และเตรียมไว้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – คูคต โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

การเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียวนี้ บริษัทฯ จะเปลี่ยนตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติทั้งหมด ให้เป็นแบบจอสัมผัส (Touch Screen) รวมประมาณ 200 ตู้ และติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วที่มีช่องรับธนบัตรเพิ่มอีก 50 ตู้ เพื่อติดตั้งตามสถานีต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส พร้อมกันไปด้วย ซึ่งจะเริ่มทยอยเปลี่ยนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 ใน 8 สถานีแรก คือ สถานีสยาม สถานีช่องนนทรี สถานีกรุงธนบุรี สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีตลาดพลู สถานีบางหว้า สถานีอุดมสุข และ สถานีแบริ่ง จากนั้นก็จะขยายไปจนครบทุกสถานี โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2561 รวมระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน 

การเปลี่ยนระบบนี้จะทำให้ตู้จำหน่ายตั๋ว และประตูอัตโนมัติเข้าและออกสถานีที่กำลังเปลี่ยนไม่สามารถใช้ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวแบบแถบแม่เหล็ก รวมทั้งบัตรโดยสารประเภท 1 วันได้ แต่ยังคงใช้บัตรแรบบิทได้ ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้จัดแผนทยอยสลับเปลี่ยนไปตามสถานีต่างๆ เพื่อให้เกิดผลกระทบกับผู้โดยสารน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่จะเกิดขึ้น ในช่วงของการปรับเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารบ้าง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งานร่วมกับระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆ ในอนาคต บริษัทฯ ขอเชิญชวนให้ทุกคนใช้บัตรแรบบิทแบบเติมเงิน ซึ่งขณะนี้มีโปรโมชั่นลดค่าโดยสาร 1 บาทต่อ 1 เที่ยวการเดินทาง ซึ่งมีราคาถูกกว่าซื้อทีละครั้ง และมีความสะดวกและประหยัดเวลามากกว่า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส แบบเที่ยวเดียว ใช้บัตรแถบแม่เหล็กนับตั้งแต่เปิดการเดินรถครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2542 หรือเมื่อ 19 ปีก่อน โดยจะต้องกดปุ่มเลือกสถานี และหยอดเหรียญที่เครื่องจำหน่ายตั๋ว ก่อนจะรับตั๋วในรูปแบบแถบแม่เหล็ก นำบัตรไปสอดที่ช่องเสียบบัตรบริเวณประตูเข้าสู่ชานชาลา แล้วรับบัตรเพื่อให้ประตูเปิดออกมา ก่อนจะโดยสารรถไฟฟ้า เมื่อถึงสถานีปลายทาง ให้นำบัตรไปสอดที่ประตูทางออกสถานีเพื่อคืนบัตร ประตูจะเปิดเพื่อออกจากระบบรถไฟฟ้า แม้บัตรโดยสารประเภทเติมเงิน และบัตรโดยสารประเภท 30 วัน จะเปลี่ยนรูปแบบไปใช้ระบบไมโครชิปไร้สายอาร์เอฟไอดี (RFID) แต่ยังคงใช้บัตรแถบแม่เหล็ก สำหรับบัตรโดยสารเที่ยวเดียว และบัตรโดยสารประเภท 1 วัน

อย่างไรก็ตาม หลังการเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียว มาใช้บัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง เวลาเข้าสู่ประตูสถานีจะใช้วิธีแตะบัตรเพื่อเปิดประตู แทนการสอดบัตรแถบแม่เหล็กที่ใช้กันมานาน 19 ปี แต่เมื่อถึงสถานีปลายทางเพียงแค่สอดบัตรเพื่อออกจากสถานีเหมือนเดิม

ตัวอย่างบัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสประเภทเที่ยวเดียว

ปิดจราจร 1 ช่องทาง “แยกสวนหลวง และหน้าธัญญาพาร์ค” ถ.ศรีนครินทร์ เพื่อเตรียมรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนศรีนครินทร์ 2 จุด บริเวณแยกสวนหลวง และห้างสรรพสินค้าธัญญาพาร์ค เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โดยมีรายละเอียดดังนี้

• บริเวณแยกสวนหลวง จะปิดการจราจรช่องทางขวา ชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจร ทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก ระยะทางประมาณ 150 เมตร ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2561 ถึง 29 มิถุนายน 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง

• บริเวณห้างสรรพสินค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์ จะปิดการจราจรช่องทางขวา ชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจร ทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก ระยะทางประมาณ 150 เมตร ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2561 ถึง 1 กรกฎาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ การเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจร ได้ที่เบอร์โทร 0 2610 4915 และ 09 8257 5555

อ่านต่อได้ที่ : http://www.fm91bkk.com

บีทีเอสแจ้งเปลี่ยนบัตรโดยสารเที่ยวเดียวใหม่

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เปิดเผยว่า บริษัท จะเปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียวจากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็น บัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง (Thin Card) ที่มีความบางมากกว่าบัตรแรบบิทการ์ดหรือบัตรทั่วไป เพื่อเปลี่ยนเป็นบัตรเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้นและรองรับการใช้งานในส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ ซึ่งจะเปิดให้บริการประมาณ ปลายปี 2561 นี้ และเตรียมไว้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – คูคต และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง การเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียวนี้บริษัทฯ จะเปลี่ยนตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติทั้งหมดให้เป็นแบบจอสัมผัส (Touch Screen) รวมประมาณ 200 ตู้ และติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วที่มีช่องรับธนบัตรเพิ่มอีก 50 ตู้ เพื่อติดตั้งตามสถานีต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส พร้อมกันไปด้วย ซึ่งจะเริ่มทยอยเปลี่ยนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 ใน 8 สถานีแรก คือ สถานีสยาม สถานีช่องนนทรี สถานีกรุงธนบุรี สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีตลาดพลู สถานีบางหว้า สถานีอุดมสุข และสถานีแบริ่ง จากนั้นก็จะขยายไปจนครบทุกสถานีโดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2561 รวมระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การเปลี่ยนระบบนี้จะทำให้ตู้จำหน่ายตั๋วและประตูอัตโนมัติเข้า และออกสถานี ที่กำลังเปลี่ยนไม่สามารถใช้ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวแบบแถบแม่เหล็กรวมทั้งบัตรโดยสารประเภท 1 วันได้ แต่ยังคงใช้บัตรแรบบิทได้ ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้จัดแผนทยอยสลับเปลี่ยนไปตามสถานีต่างๆ เพื่อให้เกิดผลกระทบกับผู้โดยสารน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ก็ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่จะเกิดขึ้นในช่วงของการปรับเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารบ้าง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งานร่วมกับระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆ ในอนาคต และบริษัทฯ ขอเชิญชวนให้ทุกท่านใช้บัตรแรบบิทแบบเติมเงิน ซึ่งขณะนี้มีโปรโมชั่นลดค่าโดยสาร 1 บาทต่อ 1 เที่ยวการเดินทาง ซึ่งมีราคาถูกกว่าซื้อทีละครั้ง และมีความสะดวกและประหยัดเวลามากกว่า

อ่านต่อได้ที่นี่ : http://www.banmuang.co.th/news/economy/115140