รฟม. ลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบความปลอดภัยในการปฏิบัติงานก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย สำนักงานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สปอ.) ได้ลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบความปลอดภัยในการปฏิบัติงานก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง บริเวณสถานีศรีอุดม ถึงสถานีศรีเอี่ยม บนถนนศรีนครินทร์ โดยได้ตรวจสอบการปิดคลุมป้องกันวัสดุตกหล่นและการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง เพื่อป้องกันผลกระทบจากพายุฤดูร้อน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อโครงการฯ และประชาชนผู้สัญจรบนถนนสาธารณะ พร้อมเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนและผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สอดคล้องตาม “ปฏิญญาว่าด้วยความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน Zero Fatal Accident” นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามข้อมูลโครงการฯ ได้ที่เว็บไซต์ www.mrta-yellowline.com และไลน์ : @mrtyellowline

 

รฟม. ลงพื้นที่ตรวจการดำเนินงานการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยกองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว -สำโรง ตลอดแนวเส้นทางก่อสร้างโครงการฯ ตั้งแต่สถานีลาดพร้าว บนถนนลาดพร้าว ไปจนถึงสถานีสำโรง ถนนเทพารักษ์ โดยตรวจสอบการทำความสะอาดพื้นที่ก่อสร้าง การปิดคลุมกองดิน กองทราย และเศษวัสดุก่อสร้าง ในระหว่างรอการใช้งานหรือรอการขนย้ายออกจากพื้นที่ ให้เป็นไปตามมาตรการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 และตรวจสอบการติดตั้งรั้วผ้าใบล้อมรอบพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อแสดงแนวเขตการก่อสร้างโครงการฯ ให้มีความชัดเจน  พร้อมทั้งเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตามมาตรฐานการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด สามารถติดตามข้อมูลโครงการฯ ได้ที่เว็บไซต์ www.mrta-yellowline.com และไลน์ : @mrtyellowline

 

รฟม. ลงพื้นที่ตรวจการปฏิบัติงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยสำนักงานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สปอ.) ลงพื้นที่ตรวจสอบความปลอดภัยในการปฏิบัติงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง บริเวณสถานีสวนหลวง ร.9 สถานีหัวหมาก โดยได้ตรวจสอบ แผงผ้าใบแบริเออร์ ป้ายเตือนต่างๆ และการปิดคลุมป้องกันวัสดุตกหล่น บริเวณจุดที่ยื่นออกนอกเขตพื้นที่ก่อสร้าง โดยกำชับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง หากจุดใดมีการชำรุดให้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว และเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนและผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานให้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด ตามนโยบาย “การก่อสร้างปลอดภัย 100%” เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุอันไม่พึงประสงค์ทั้งบุคลากรของโครงการฯ และผู้ที่สัญจรบนถนนสาธารณะ และเพื่อดำเนินงานก่อสร้างโครงการมีความปลอดภัยแก่ประชาชนมากที่สุด สอดคล้องตาม “ปฏิญญาว่าด้วยความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน Zero Fatal Accident พร้อมทั้งได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตร การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามข้อมูลโครงการฯ ได้ที่เว็บไซต์ www.mrta-yellowline.com และไลน์ : @mrtyellowline

 

รฟม. ลงพื้นที่ตรวจการดำเนินงานการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลงพื้นที่ตรวจการดำเนินงานการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง บริเวณตั้งแต่สถานีลาดพร้าว ตลอดแนวการก่อสร้างโครงการฯ บนถนนลาดพร้าวและถนนศรีนครินทร์ ไปจนถึงสถานีสำโรง โดยได้ตรวจสอบดำเนินการตามมาตรการแก้ปัญหา ฝุ่นละออง PM 2.5 เช่น การติดตั้งและเครื่องฉีดพรมน้ำ การปิดคลุมกองดิน การทำความสะอาดพื้นที่ก่อสร้าง เป็นต้น พร้อมทั้งได้กำชับในเรื่องการดูแลรักษาเครื่องฉีมพรมน้ำ อุกรณ์การทำความสะอาดพื้นที่ก่อสร้าง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

อีกทั้งได้ตรวจสอบการจัดทำทางเดินเท้าชั่วคราวทดแทนทางเท้าเดิม เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้สัญจรในขณะที่การก่อสร้างไปรบกวนทางเดินเท้าเดิม  และเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตามมาตรฐานการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด สามารถติดตามข้อมูลโครงการฯ ได้ที่เว็บไซต์ www.mrta-yellowline.com และไลน์ : @mrtyellowline

 

รฟม. ลงพื้นที่ตรวจการปฏิบัติงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ช่วงกลางคืน

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยสำนักงานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สปอ.) ลงพื้นที่ตรวจสอบความปลอดภัยในการปฏิบัติงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า  สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ช่วงเวลากลางคืน บริเวณสถานีลาดพร้าว และตลอดแนวการก่อสร้างโครงการฯ บนถนนลาดพร้าว โดยได้ตรวจสอบแผงผ้าใบแบริเออร์ ไฟส่องสว่าง ไฟสัญญาณเตือน รวมถึงป้ายเตือนต่างๆ ให้ชัดเจนและพร้อมใช้งานตลอดเวลา โดยกำชับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง หากมีการชำรุดให้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว และเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนและผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานให้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด ตามนโยบาย “การก่อสร้างปลอดภัย 100%” เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุอันไม่พึงประสงค์ทั้งบุคลากรของโครงการฯ และผู้ที่สัญจรบนถนนสาธารณะ และเพื่อดำเนินงานก่อสร้างโครงการมีความปลอดภัยแก่ประชาชนมากที่สุด สอดคล้องตาม “ปฏิญญาว่าด้วยความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน Zero Fatal Accident พร้อมทั้งได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตร การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามข้อมูลโครงการฯ ได้ที่เว็บไซต์ www.mrta-yellowline.com และไลน์ : @mrtyellowline

 

MRT Yellow Line : การติดตั้งคานทางวิ่งโค้งชนิดเหล็ก ข้ามแยกรัชดา-ลาดพร้าว

 

การติดตั้งคานทางวิ่งชนิดเหล็ก (Steel Guideway Beam) ข้ามแยกรัชดา – ลาดพร้าว

คานทางวิ่งชนิดเหล็ก (Steel Guideway Beam) ข้ามแยกรัชดา – ลาดพร้าว เป็นคานทางวิ่งของเเนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ จากสถานีลาดพร้าว มุ่งหน้าสถานีภาวนา
ซึ่งเป็นคานทางวิ่งชนิดเหล็กแบบโค้ง ที่ออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะกายภาพของพื้นที่บริเวณสี่แยกรัชดา – ลาดพร้าว คานทางวิ่งดังกล่าว เป็นรูปแบบคานต่อเนื่อง 3 ช่วง ความยาวรวม 121.50 เมตร น้ำหนักรวม 747 ตัน มีรัศมีความโค้งเพียง 75 เมตร และมีความยาวช่วงคานบริเวณกลางแยกมากถึง 61.50 เมตร

ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

นับเวลาถอยหลังส่งท้ายปีเก่า 2564 ต้อนรับปีใหม่ 2565 🎉
ปีใหม่ 2565 นี้ เดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัย เตรียมตัวให้พร้อมทั้งยานพาหนะ🚘 และคนขับ👩🏼‍🤝‍👨🏻 ตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนการเดินทาง พักผ่อนให้เพียงพอก่อนออกเดินทาง และที่สำคัญ ดื่มไม่ขับ ง่วงจอดพัก มีสติทุกครั้งในการใช้รถใช้ถนน เดินทางปลอดภัย ถึงจุดหมายโดยสวัสดิภาพ
ด้วยความปรารถนาดีจาก กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
—————————————–
#วิสัยทัศน์ รฟม. (พ.ศ.2560-2565)
เป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน