คึกคักแจก “บัตรแมงมุม” ใช้งานจริง 2 สาย
ประชาชนจำนวนมากต่อคิวรอรับบัตรแมงมุม ของ รฟม.เพื่อนำใช้ในระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าสายสีม่วง และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เริ่มใช้งานจริงวันแรก ส่วนการแจกบัตรประชาชนทั่วไป วันนี้-29 มิ.ย.นี้ทุกสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-เตาปูน รวม16,000 ใบต่อวัน
วันนี้(23 มิ.ย.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่เวลา 06.00 น.ประชาชนทยอยเดินทางมารับแจกบัตรแมงมุม รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งเป็นวันที่ 2 ที่แจกบัตรให้ประชาชนทั่วไป และเป็นวันแรกที่จะเปิดใช้บัตรแมงมุมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-เตาปูน และรถไฟฟ้าใต้ดิน
โดยบรรยากาศที่สถานีเตาปูน มีผู้โดยสารมารับบัตรแมงมุมเป็นจำนวนมาก ซึ่งการต่อคิวเพื่อรอรับบัตรค่อนข้างช้า แต่หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ปรับวิธีการ โดยเพิ่มโต๊ะกรอกเอกสาร และจัดโต๊ะสำหรับการรับบัตรอย่างเดียว แต่หากต้องการเติมเงินบัตรแมงมุมครั้งแรกในบัตร จะต้องเติมที่ตู้ออกบัตรโดยสารเท่านั้น
โดยขั้นตอนการรับระหว่างวันที่ 23-29 มิ.ย.นี้ จำกัดเฉพาะบุคคลทั่วไป โดยรับบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-เตาปูน ทั้ง 16 สถานีเฉลี่ยสถานีละ 1,000 ใบต่อสถานี รวม 16,000 ใบต่อวันและวันที่ 2 -5 ก.ค.นี้ แจกวันละ 1,000 ใบต่อสถานี ส่วนบัตรผู้สูงอายุ (สีทอง) และบัตรนักเรียนนักศึกษา (สีเทา) รับได้ในวันที่ 30 มิ.ย.-1 ก.ค.นี้
โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อขอรับบัตรแมงมุมได้ที่ห้องออกบัตรโดยสาร หลังจากนั้นกรอกเอกสารเพื่อขอรับบัตร และเมื่อนำไปใช้จะต้องเติมเงินขั้นต่ำ 150 บาท โดยแบ่งเป็นค่ามัดจำบัตร 50 บาท และมูลค่าเงินสำหรับโดยสารรถไฟฟ้า 100 บาท ทั้งนี้ บัตรมีจำนวนจำกัด และจำกัดสิทธิ์ 1 คนต่อ 1 ใบ เท่านั้น
ขณะที่ช่วงเช้า มีผู้สูงอายุเดินทางมารับบัตรแมงมุมตั้งแต่เวลาหกนาฬิกา แต่ไม่สามารถรับบัตรแมงมุมได้ เนื่องจากวันนี้เปิดให้เฉพาะบุคคลทั่วไปรับบัตรก่อน
อ่านต่อได้ที่ : https://news.thaipbs.or.th/content/272930
ตั๋วร่วมลดราคาทันที14-16บาทหลังการเชื่อมต่อสายสีม่วงกับสีน้ำเงิน
รมว.คมนาคมเผยลดค่ารถไฟฟ้าทันที 14-16 บาท หลังเชื่อมต่อตั๋วร่วมสายสีม่วง-สีน้ำเงิน -รฟม.กลับลำเปิดประมูล Interbid รับต่างชาติชิงเค้กสายสีม่วง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การใช้ตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมเชื่อมต่อการเดินทางรถไฟฟ้าสองสายได้แก่สายสีม่วงและสายสีน้ำเงินจะส่งผลให้ลดค่าโดยสารได้ราว14-16 บาท จากการยกเว้นค่าแรกเข้าเมื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสองสาย ปัจจุบันค่ารถไฟฟ้าสายสีม่วง 14-42 บาท และสายสีน้ำเงิน 16-42 บาท เช่น หากผู้โดยสารเดินทางเต็มสายทั้งสองเส้นทางเริ่มจากสายสีม่วงไปต่อสายสีน้ำเงินจะเสียค่าโดยสาร 84 บาท หากใช้ตั๋วร่วมจะลดค่าโดยสารเหลือ 68 บาทเพราะลดค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินลง 16 บาท ทั้งนี้หากใช้บริการแค่รถไฟฟ้าเส้นทางเดียวจะไม่ลดค่าแรกเข้า
อย่างไรก็ตาม บัตรดังกล่าวจะสามารถใช้ได้กับรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ,สายสีเหลือง ,สายสีส้ม และสายสีแดง โดยจะมีการขยายการใช้บริการไปยังเรือโดยสาร และทางด่วน Easy Pass M Pass รวมถึงร้านค้าต่างๆได้ โดยจะพยายามให้เรือด่วนดำเนินการให้เสร็จภายในปีนี้ ซึ่งในอนาคตค่าโดยสารอาจจะถูกลงเพราะจะมีระบบจัดเก็บค่าโดยสารเดียว (Common Fare) โดยขณะนี้รอการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางที่จะเข้ามาเป็นผู้กำกับดูแล และพิจารณาอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมแต่หากจะให้มีอัตราค่าโดยสารที่ถูกลงต้องรอการพิจารณาร่างกฎหมายขณะนี้อยู่ในชั้นกฤษฎีกา ด้านนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่าทางรฟม.เตรียมออกบัตรแมงมุมเวอร์ชั่น 2 ด้วยเทคโนโลยี EMV Contactless Smart Card ที่ในบัตรเครดิต ซึ่งในกลุ่มประเทศยุโรปกำลังพัฒนามาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในอนาคตก็จะสามารถนำบัตรแมงมุมไปใช้เดินทางระบบขนส่งสาธารณะในต่างประเทศและปัจจุบันที่ลอนดอน สิงคโปร์ ได้มีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้นำบัตรแมงมุมใช้กับประเทศอื่นที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกันได้ ทั้งนี้ความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้นทางขณะนี้ทางกรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องเข้าสภากรุงเทพมหานครพิจารณาก่อนแต่ยืนดีรับโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวและยังคงกรอบระยะเวลาเดิมในการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการช่วงปลายปีนี้ ซึ่งขณะนี้ก็ได้มีการสั่งซื้อขบวนรถเข้ามาแล้วคาดว่าจะทำให้ปัญญาการคับคั่งของการใช้บริการรถไฟฟ้าBTS ลดลง ในส่วนของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ โดยหากทำการปรับปรุงแล้วเสร็จวิ่งให้บริการได้ครบ 9 ขบวน จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มมากขึ้นแม้ว่าจะมีการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยบัตรแมงมุม และมองว่าหากในอนาคตเมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ก่อสร้างแล้วเสร็จ ในช่วงพัฒนาการที่เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางจะต้องมีการซื้อขบวนรถเผื่อเนื่องจากจะต้องมีการรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปี 2564 |
ส่วนนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กล่าวว่า ความเบื้องต้นจะแจกบัตรแมงมุมจำนวน 200,000 ใบก่อน โดยเติมเงินได้สูงสุด 2,000 บาท ต่ำสุด 150 บาท และสามารถเริ่มใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.นี้ เป็นต้นไป โดยติดต่อขอรับบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทุกสถานี ส่วนการเข้าร่วมบัตรแมงมุมของรถเมล์ รฟม.ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทางเทคนิค ขสมก.อยู่ระหว่างพิจารณาออกแบบ คาดว่าอาจใช้วิธีเก็บค่าโดยสารใน 2 รูปแบบ แบบแรกคือ ให้กระเป๋ารถเมล์มีเครื่องสแกนเก็บค่าโดยสาร หรือแบบที่ 2 คือ การติดตั้งเครื่องอ่านบัตร ไว้บนรถเมล์ ซึ่งจะใช้เวลาอ่านไม่เกินครึ่งวินาทีต่อ 1 ใบ เชื่อมั่นว่าจะไม่เกิดปัญหาเหมือนเครื่องอ่านบัตรที่ต้องโละทิ้งอย่างที่ผ่านมาโดยในส่วนของรถเมล์เอกชนก็สามารถเข้าร่วมได้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการประสานมาแต่ยืนยันว่าจะได้ความชัดเจนในเดือน ต.ค.นี้
อ่านต่อได้ที่ : https://www.posttoday.com/economy/555343
“บัตรแมงมุม” ของคนเมืองกรุงพกใบเดียวไปได้ทุกที !!!
เดินหน้าแจกบัตรแมงมุม 200,00 ใบฟรี ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.2561 ตั๋วร่วมที่คนไทยได้ใช้สักที! หลังรอมานาน 10 ปี เบื้องต้นใช้เป็นตั๋วโดยสารได้เฉพาะรถไฟฟ้าสายใต้ดินสายสีน้ำเงินกับสายสีม่วงก่อน จากนั้น เดือน ต.ค. 2561 จะขยายไปใช้ได้กับแอร์พอร์ตเรลลิงค์ และรถเมล์ ขสมก. 2,600 คัน และในอนาคตมีแผนจะขยายไปในทุกๆ การขนส่งมวลชน เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าทุกสีที่กำลังเดินหน้าก่อสร้าง เรือโดยสาร เป็นต้น
แนวคิดตั๋วร่วมเริ่มมีมาตั้งแต่ ประมาณปี 2550 รัฐบาลคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ที่มีพลเรือเอกธีระ ห้าวเจริญ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก่อนที่จะมีการพัฒนาระบบตั๋วร่วมตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2560 โดยมอบให้ รฟม.ทำหน้าที่บริหารจัดการตั๋วร่วม พร้อมกับ ลงนาม MOU 2 ฉบับ คือ ความร่วมมือเพื่อดำเนินการเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วมระหว่าง รฟม. กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
อีกฉบับคือบันทึกข้อตกลงเข้าดำเนินงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) ระหว่าง รฟม. กับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน
แล้วทำไมต้องเป็นบัตรแมงมุม
ในปี 2558 สนข.เปิดให้มีการประกวดออกแบบบัตรตั๋วร่วม ซึ่งนางสาววรรธิชา อเนกสิทธิชน เป็นผู้ชนะการประกวด ซึ่งตัว M มีลักษณะเหมือนแมงมุมและเป็นตัวเอ็มที่มีจุดปลายรวมกัน เหมือนกับเส้นการเดินทางของทุกการคมนาคมทุกอย่างมารวมกัน
นอกจากนี้ ระบบตั๋วร่วมยังออกแบบให้รองรับกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) ของรัฐบาล โดยกระทรวงการคลังได้กำหนดแผนบูรณาการเข้ากับระบบจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐสำหรับพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ซึ่งจะเริ่มใช้ได้ในเดือนตุลาคม 2560
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม บอกว่า สำหรับการเดินทางในระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ หรือ รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT กับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน ก่อนที่ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ บัตรโดยสารร่วมจะสามารถใช้ได้ในระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ รถเมล์ของขสมก. นอกจากนี้รถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ทั้งสายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีส้ม และสายสีแดง ก็จะสามารถใช้บัตรแมงมุมร่วมได้เช่นกัน ก่อนจะมีการขยายการใช้บริการไปยังเรือโดยสาร รวมถึงร้านค้าต่างๆได้อีกในอนาคต ส่วนของรถไฟฟ้าบีทีเอสยังอยู่ระหว่างการเจรจา เชื่อว่าหากประชาชนหันมาใช้ตั๋วร่วมมากขึ้นจะทำให้บีทีเอสเข้าร่วมระบบดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีส่วนของระบบคอมมอนแฟร์ หรือ ระบบจัดเก็บค่าโดยสารเดียว ซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารในระบบขนส่งสาธารณะถูกลงหากใช้บัตรโดยสารร่วม
ซึ่งยังต้องรอการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง ที่จะเข้ามาเป็นเรกกูเรเตอร์ เพื่อประเมินภาพรวมโครงการทั้งหมดของรถไฟฟ้าซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ และพิจารณาอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมก่อนที่จะกำหนดออกมาเป็นบทกฎหมาย ซึ่งยังคงต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ
สำหรับบัตรแมงมุมจะเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ มี 3 ประเภท คือ สำหรับบุคคลทั่วไป บัตรผู้สูงอายุ และบัตรนักเรียน/นักศึกษา โดยการใช้งานจะต้องเติมเงินเข้าไปในบัตร ขั้นต่ำ 150 บาท เป็นค่ามัดจำบัตร 50 บาท และค่าโดยสาร 100 บาทและนำไปแตะกับจุดอ่านบัตรของแต่ละระบบ โดยประชาชนสามารถนำบัตรประชาชน หรือบัตรนักเรียน นักศึกษามาขอรับได้ที่เคาน์เตอร์ออกบัตรโดยสาร
อ่านต่อได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/news/
คมนาคม’ จุดพลุ! แจกบัตรแมงมุม 2 แสนใบ นำร่องสีน้ำเงิน-ม่วง ลุย ขสมก.-แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 1 ต.ค.นี้
“กระทรวงคมนาคม และ รฟม. จับมือนำร่องเปิดตัวบัตรโดยสารร่วม “แมงมุม เชื่อมโยงความสุขทุกการเดินทาง ด้วยบัตรใบเดียว” เริ่มใช้กับรถไฟฟ้า MRT ทั้ง 2 สาย เตรียมพร้อมแจกบัตรแมงมุม 200,000 ใบ ในวันที่ 23 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป”
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานในงานเปิดตัวบัตรโดยสารร่วม หรือ ”บัตรแมงมุม” ว่า ในระยะแรกจะใช้ได้เฉพาะสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินและรถไฟฟ้าสายสีม่วงตลอดสาย หลังจากนั้นในช่วงเดือน ต.ค.นี้ จะมีการเชื่อมต่อกับรถแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ และรถเมล์ขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. สำหรับบัตรแมงมุมจะเป็นบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือบุคคลทั่วไป บัตรผู้สูงอายุ และบัตรนักเรียนนักศึกษา โดยการใช้งานจะต้องเติมเงินเข้าไปในบัตรคล้ายในต่างประเทศ เช่น ฮ่องกงที่มีบัตรปลาหมึก โดยทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ได้เตรียมแจกบัตรฟรีจำนวน 2 แสนใบในช่วงระหว่างวันที่ 23-29 มิ.ย. 2561 และวันที่ 1-5 ก.ค. 2561 ในทุกสถานีของรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยสามารถนำบัตรประชาชน หรือบัตรนักเรียน นักศึกษามาขอรับได้ที่เคาน์เตอร์ออกบัตรโดยสาร ทั้งนี้ บัตรดังกล่าวจะสามารถใช้ได้กับรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีส้ม และสายสีแดง โดยจะมีการขยายการใช้บริการไปยังเรือโดยสาร และทางด่วน Easy Pass และ M Pass รวมถึงร้านค้าต่างๆ ได้ โดยจะพยายามให้เรือด่วนดำเนินการให้เสร็จภายในปีนี้ ซึ่งในอนาคตค่าโดยสารอาจจะถูกลง เพราะจะมีระบบจัดเก็บค่าโดยสารเดียว โดยขณะนี้รอการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางที่จะเข้ามาเป็นผู้กำกับดูแล และพิจารณาอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม แต่หากจะให้มีอัตราค่าโดยสารที่ถูกลงต้องรอการพิจารณาร่างกฎหมายขณะนี้อยู่ในชั้นกฤษฎีกา ด้านนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รฟม.เตรียมออกบัตรแมงมุมเวอร์ชั่น 2 ด้วยเทคโนโลยี EMV Contactless Smart Card ที่ในบัตรเครดิต ซึ่งในกลุ่มประเทศยุโรปกำลังพัฒนามาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในอนาคตก็จะสามารถนำบัตรแมงมุมไปใช้เดินทางระบบขนส่งสาธารณะในต่างประเทศและปัจจุบันที่ลอนดอน สิงคโปร์ ได้มีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้นำบัตรแมงมุมใช้กับประเทศอื่นที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกันได้ โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้บัตรมากขึ้น ส่วนกรณีที่รถไฟฟ้าสายสีเขียวที่จะมีการเข้าร่วมบัตรแมงมุมหรือไม่ ขณะนี้กำลังอยู่เจรจาระหว่างการเจรจาแต่ยอมรับว่าติดปัญหาทางเทคนิคบางอย่างและยังไม่รู้ว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องนี้เมื่อใดแต่มองว่าหากฐานผู้ใช้บัตรแมงมุมขยายตัวมากขึ้นทาง BTS ก็จะเข้าร่วมเองเพราะในอนาคตโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองก็จะต้องมีการเชื่อมต่อระบบเข้าด้วยกันอยู่แล้ว ในส่วนความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น ทางขณะนี้ทางกรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องเข้าสภากรุงเทพมหานครพิจารณาก่อนแต่ยืนดีรับโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวและยังคงกรอบระยะเวลาเดิมในการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการช่วงปลายปีนี้ ซึ่งขณะนี้ก็ได้มีการสั่งซื้อขบวนรถเข้ามาแล้วคาดว่าจะทำให้ปัญญาการคับคั่งของการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ลดลง ในส่วนของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ โดยหากทำการปรับปรุงแล้วเสร็จวิ่งให้บริการได้ครบ 9 ขบวน จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มมากขึ้นแม้ว่าจะมีการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยบัตรแมงมุม และมองว่าหากในอนาคตเมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ก่อสร้างแล้วเสร็จ ในช่วงพัฒนาการที่เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางจะต้องมีการซื้อขบวนรถเผื่อเนื่องจากจะต้องมีการรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปี 2564 ขณะที่ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. กล่าวว่า ในเบื้องต้นจะแจกบัตรแมงมุมจำนวน 200,000 ใบก่อน โดยเติมเงินได้สูงสุด 2,000 บาท ต่ำสุด 150 บาท และสามารถเริ่มใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.นี้ เป็นต้นไป โดยติดต่อขอรับบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทุกสถานี ส่วนการเข้าร่วมบัตรแมงมุมของรถเมล์ รฟม.ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทางเทคนิค ขสมก.อยู่ระหว่างพิจารณาออกแบบ คาดว่าอาจใช้วิธีเก็บค่าโดยสารใน 2 รูปแบบ แบบแรกคือ ให้กระเป๋ารถเมล์มีเครื่องสแกนเก็บค่าโดยสาร หรือแบบที่ 2 คือ การติดตั้งเครื่องอ่านบัตร ไว้บนรถเมล์ ซึ่งจะใช้เวลาอ่านไม่เกินครึ่งวินาทีต่อ 1 ใบ เชื่อมั่นว่าจะไม่เกิดปัญหาเหมือนเครื่องอ่านบัตรที่ต้องโละทิ้งอย่างที่ผ่านมา โดยในส่วนของรถเมล์เอกชนก็สามารถเข้าร่วมได้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการประสานมาแต่ยืนยันว่าจะได้ความชัดเจนในเดือน ต.ค.นี้ ทั้งนี้ ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงิน 101,000 ล้านบาท ขณะนี้รายละเอียดการออกแบบและเคลียร์ข้อพิพาทการใช้พื้นที่ก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม.เพื่อเปิดประมูลโครงการภายในเดือน ส.ค.ตามแผนเดิม โดยขั้นตอนการเปิดประมูลโครงการนั้นได้ข้อสรุปแล้วว่าจะเปิดประกวดราคาแบบ International Bidding เพื่อเปิดช่องให้เอกชนจากต่างประเทศเข้าร่วมประมูลได้อย่างอิสระ เนื่องจากเป็นหนึ่งในเงื่อนไข การให้เงินกู้ของธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB ซึ่งเป็นผู้ให้เงินกู้มูลค่า 10,000 ล้านบาทหรือราว 10% ของวงเงินทั้งหมด อย่างไรก็ตามข้อกังวลด้านความเสียเปรียบในการแข่งขันประกวดราคาของเอกชนไทยนั้น ตนยืนยันว่าทุกบริษัทที่เข้าร่วมประมูลต้องแข่งขันกันเสนอราคาต่ำที่สุดเพื่อชนะการประมูลตามแนวทางสากลทั่วโลกทีใช้เหมือนกัน ไม่มีคะแนนเรื่องได้เปรียบหรือเสียเปรียบด้านเงินทุน ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือ รฟฟท. ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ กล่าวว่า ตามที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กำหนดให้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถเมล์ ขสมก. สามารถใช้ร่วมกับบัตรแมงมุมในวันที่ 1 ต.ค.นี้นั้น ในขณะนี้ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์อยู่ระหว่างการติดตั้งระบบตั๋วร่วมพร้อมเครื่องอ่านบัตรแมงมุม วงเงิน 105 ล้านบาท จากบริษัท สมาร์ท เทคโนโลยี โซลูชั่น จำกัด ผู้ชนะการประกวดราคา กำหนดระยะเวลาสัญญา 5 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน ต.ค.นี้ “ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ผมคิดว่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์อาจจะเปิดใช้ระบบเพื่อรองรับการใช้บัตรแมงมุมไม่ทัน แต่น่าจะทันภายในเดือน ต.ค. เพราะจากสัญญากับบริษัทที่ชนะการประมูลจากเดิม 8 เดือน ลดลงมาที่ 5 เดือน ซึ่งถ้าหากนับตอนนี้ไปถึงเดือน ต.ค. จะเหลือเวลาแค่ 4 เดือนเท่านั้น แต่ยังไงก็ต้องพยายามให้ทัน และทางบริษัทที่ติดตั้งก็รับปากว่าจะทันภายในเดือน ต.ค.นี้” แหล่งข่าวกล่าว |
รายงานข่าว ระบุว่า รฟม.เตรียมเปิดให้บริการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถใช้ได้กับระบบตั๋วร่วมได้ในช่วง ก.ค.นี้ ทั้งนี้ ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะสามารถนำบัตรมาใช้การเดินทางได้ 4 ระบบ คือ รถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน จะเริ่มใช้ได้ก่อนเริ่มวันที่ 1 ก.ค. นี้ ส่วนรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. จำนวน 2,600 คัน และรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะเริ่มใช้วันที่ 1 ต.ค. นี้เป็นต้นไป โดยผู้ถือบัตรต้องนำบัตรสวัสดิการไปฟอร์แมตที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าเพื่อปรับให้เข้ากับระบบตั๋วร่วมก่อนใช้บริการครั้งแรก
อ่านต่อได้ดี : http://www.transportjournalnews.com/
เริ่มใช้ “บัตรแมงมุม” ขึ้นรถไฟฟ้า 2 สายพรุ่งนี้
กระทรวงคมนาคมได้เปิดตั๋วบัตรแมงมุมแล้วอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะเริ่มใช้งานได้จริงรถไฟฟ้าสองเส้นทาง คือ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง
วันนี้ (22 มิ.ย.61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในงานเปิดตัวบัตรโดยสารร่วม หรือ “บัตรแมงมุม” โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ได้นำ บัตรแมงมุมมาแจกให้กับประชาชนฟรี 900 ใบที่สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.เป็นต้นไป ประชาชนจะสามารถใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียว สำหรับการเดินทางในระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ช่วงบางใหญ่-เตาปูน และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ หรือ รถไฟฟ้าใต้ดินในปัจจุบัน
และในเดือนตุลาคมนี้ บัตรแมงมุมจะสามารถใช้ได้ในระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ และรถเมล์ของ ขสมก.
และหลังจากนั้น รถไฟฟ้าทั้งสายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีส้ม และสายสีแดง ที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างก็จะสามารถใช้บัตรแมงมุมร่วมได้เช่นกัน ก่อนจะขยายการใช้บริการไปยังเรือโดยสาร รวมถึงร้านค้าต่างๆได้อีกในอนาคต
ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสยังอยู่ระหว่างการเจรจา เชื่อว่าหากประชาชนหันมาใช้ตั๋วร่วมมากขึ้นจะทำให้บีทีเอสเข้าร่วมระบบดังกล่าว
สำหรับบัตรแมงมุมจะเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ มี 3 ประเภท ได้แก่ บัตรบุคคลทั่วไป (สีน้ำเงิน) บัตรผู้สูงอายุ (สีทอง) และบัตรนักเรียน/นักศึกษา (สีเงิน) ซึ่งสามารถติดต่อขอรับได้ที่รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงทุกสถานี โดยการใช้งานจะต้องเติมเงินเข้าไปในบัตร และนำไปแตะกับจุดอ่านบัตร
และในช่วงระหว่างวันที่ 23-29 มิ.ย. และวันที่ 1-5 ก.ค.นี้ จะมีการแจกบัตรฟรีในทุกสถานีของรถไฟฟ้าสายสีม่วง รวม 200,000 ใบ โดยประชาชนสามารถนำบัตรประชาชน หรือบัตรนักเรียน นักศึกษามาขอรับได้ที่เคาน์เตอร์ออกบัตรโดยสาร
อ่านต่อได้ที่ : https://workpointnews.com
รฟม.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ปิดเบี่ยงจราจร ถ.ลาดพร้าว ซอย 41 ถึง 41/1 เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค เริ่ม 22 มิ.ย.นี้
การปิดเบี่ยงจราจรบริเวณซอยลาดพร้าว 41 ถึง 41/1 จะปิดการจราจรฝั่งขาเข้า ช่องที่ 2 และช่องที่ 3 (นับจากเกาะกลาง) ตลอด 24 ชั่วโมง โดยผู้ใช้ทาง สามารถสัญจรได้ในช่องที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) และ ช่องที่ 4 (ชิดทางเท้า) และในเวลา 22.00 – 04.00 น. จะปิดการจราจรช่องที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) เพิ่มอีก 1 ช่องจราจร เพื่อขนย้ายเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่ดำเนินงาน
ทั้งนี้ การเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว จึงเรียนแจ้งมาเพื่อโปรดพิจารณาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ขอบคุณค่ะ อโณทัย พึ่งเถื่อน เจ้าหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์
รฟม.แจ้งเบี่ยงจราจรช่วงคลองตาสาด-ซ.ศรีนครินทร์ 61
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนศรีนครินทร์ บริเวณคลองตาสาด ถึง ซอยศรีนครินทร์ 61 ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โดยมีแผนจะทยอยปิดทีละจุด เป็นระยะๆ โดยในช่วงแรกจะปิด 2 จุด ดังนี้
จุดที่ 1 บริเวณคลองตาสาด ถึง ซอยศรีนครินทร์ 47 ปิดช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ฝั่งขาออก 1 ช่องทาง ระยะทาง 250 เมตร ตลอด 24 ชั่วโมง
จุดที่ 2 บริเวณหน้าศูนย์การค้า HaHa ถึง ซอยศรีนครินทร์ 51 ปิดช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ฝั่งขาเข้า 1 ช่องทาง ระยะทาง 250 เมตร ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ การเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจร ได้ที่เบอร์โทร 0 2610 4915 และ 09 8257 5555
อ่านต่อได้ที่ : http://www.banmuang.co.th/news/economy/115527
รฟม.แจ้งเบี่ยงจราจรช่วงแยกลำสาลี4จุด 24ชม.
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนศรีนครินทร์ 4 จุด บริเวณแยกลำสาลี เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โดยมีรายละเอียดดังนี้
จุดที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 23 – 25 มิถุนายน 2561 (3 วัน) ตลอด 24 ชั่วโมง ปิดช่องจราจรช่องทางที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) ฝั่งขาออก มุ่งหน้าพัฒนาการ ระยะทางประมาณ 40 เมตร
จุดที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 26 – 29 มิถุนายน 2561 (4 วัน) ตลอด 24 ชั่วโมง ปิดช่องจราจรช่องทางที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) ฝั่งขาเข้า มุ่งหน้าบางกะปิ ระยะทางประมาณ 40 เมตร
จุดที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 (3 วัน) ตลอด 24 ชั่วโมง ปิดช่องจราจรช่องทางที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) ฝั่งขาออก มุ่งหน้าพัฒนาการ ระยะทางประมาณ 40 เมตร
จุดที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 3 – 6 กรกฎาคม 2561 (4 วัน) ตลอด 24 ชั่วโมง ปิดช่องจราจรช่องทางที่ 2 ฝั่งขาออก มุ่งหน้าพัฒนาการ ระยะทางประมาณ 40 เมตร
ทั้งนี้ การเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจร ได้ที่เบอร์โทร 0 2610 4915 และ 09 8257 5555
อ่านต่อได้ที่ : http://www.banmuang.co.th/news/economy/115338
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ในกิจกรรมปรับภูมิทัศน์และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ถนนประดิษฐ์มนูธรรม โดยสำนักงานเขตวังทองหลาง
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน 2561 เวลา 07.00 – 12.00 น. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง
ร่วมกิจกรรมปรับภูมิทัศน์และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ถนนประดิษฐ์มนูธรรม โดยสำนักงานเขตวังทองหลาง ณ ลานกีฬาวังทองหลาง (ฝั่งใต้)
เขตวังทองหลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปรับภูมิทัศน์บริเวณทางเท้า ถนนประดิษฐ์มนูธรรม(ฝั่งขาเข้า)
ให้มีความสวยงาม ร่มรื่น น่าอยู่อาศัย และเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่เขตวังทองหลางหันมาให้ความสนใจในการปลูกต้นไม้มากขึ้น
รองปลัดกรุงเทพมหานคร นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ เป็นประธานเปิดกิจกรรมฯ ร่วมด้วยนายโกมินทร์ ชินบุตร ผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง
ผู้บริหารเขตวังทองหลาง , ผู้กำกับการสน.วังทองหลาง , สน.โชคชัย , ผู้บังคับการกองร้อยรักษาความสงบเขตวังทองหลาง , ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 2 , เจ้าหน้าที่ อปพร.เขตวังทองหลาง , ชาวชุมชน , ประชาชนจิตอาสา และนักเรียนนักศึกษาในเขตพื้นที่ร่วมกิจกรรม
ภายในกิจกรรมมีการแสดงจากนักเรียน และเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตวังทองหลาง มีการจัดบูธนิทรรศการต่างๆ ที่ให้ความรู้แก่ชุมชน
อาทิเช่นบูธนิทรรศการจากโครงการจิตอาสา “เราทำดี ด้วยหัวใจ” บูธกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องสาธารณสุขชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ทางโครงการฯได้พบผู้นำชุมชนคลองพลับพลา ชุมชนต้นแบบที่พัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนด้วยการนำผักตบชวามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสร้างรายได้
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตเมือง
ขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองไปพร้อมกัน