ตกลงยังไม่นับวันเริ่มสัญญา สายชมพู, เหลืองรอนับวันส่งพื้นที่ครบ

รฟม.พึ่งศาลย้ายรถเมล์ NGV
สายสีชมพู-เหลือง เริ่มงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคแล้ว แต่ รฟม.ยังไม่นับวันเริ่มสัญญา เพราะติดปัญหาส่งมอบพื้นที่ ส่วนสายสีส้ม เคลียร์ไม่จบเรื่องรถเมล์ …
อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th

รฟม.โชว์ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้บรรยายสรุปภารกิจการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม. ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวน 5 โครงการ ซึ่งมีความคืบหน้าในการก่อสร้าง (ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2560) ดังนี้ โครงการรรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงเตาปูน – ท่าพระ มีความคืบหน้าร้อยละ 97.52 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต มีความคืบหน้าร้อยละ 53.31 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความคืบหน้าร้อยละ 4.66 โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง อยู่ระหว่างเตรียมการรื้อย้ายสาธารณูปโภคใต้ดินตามแนวสาย โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างเตรียมการประกวดราคา 1 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) และโครงการรถไฟฟ้าที่จะดำเนินการในปี 2561 จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย 4 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงคูคต – ลำลูกกา และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ – บางปู
เพิ่มเติม : http://www.banmuang.co.th

เปิดค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าหลากสี BTS จี้รัฐเคาะค่าโดยสารร่วม วิน-วิน

น่าสนใจไม่น้อยเมื่อเจ้าพ่อบีทีเอส “คีรี กาญจนพาสน์” ตั้งคำถามถึงบิ๊กคมนาคม “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” ถึงความชัดเจนการกำหนดค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าสารพัดสีสารพัดสายที่จะเปิดบริการในปี 2563 เป็นต้นไป

ไม่ว่าสายสีเขียวต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สายสีชมพูแคราย-มีนบุรี สายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง สายสีน้ำเงินต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค สายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิตและสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี

หากผู้ใช้บริการหลายสายจะต้องจ่ายค่าเดินทางแพงขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ “บิ๊กบีทีเอส” ต้องการให้รัฐคอนเซียส(ตระหนัก) ได้แล้ว เรื่องค่าโดยสารร่วมรถไฟฟ้าแต่ละสาย ตอนนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งบีทีเอสก็พร้อมที่เข้าร่วม แต่รัฐจะต้องช่วยซับซิดี้ค่าโดยสารให้เอกชนบ้าง

“ปี 2563 รถไฟฟ้าสายใหม่จะเปิดอีกหลายสาย สีเขียว น้ำเงิน แดง ชมพู เหลือง โครงข่ายการเดินทางจะสมบูรณ์ ซึ่งบีทีเอสที่เรารับสัมปทานกับ กทม.จะอยู่ตรงกลาง มีสายอื่นวิ่งเข้ามาเชื่อม หากใช้สายหนึ่งต่อไปอีกสายหนึ่ง จะต้องมีค่าแรกเข้าหรือไม่ ถ้ามีเบ็ดเสร็จแล้วค่าโดยสารจะแพงมาก รัฐก็ยังไม่มีการหารือ แต่ผมเริ่มเป็นห่วง เมื่อคนใช้รถไฟฟ้าสีต่าง ๆ ค่าแรกเข้าควรจะเท่าไหร่ บอกว่าจะมีระบบตั๋วร่วมแล้วไง ลดค่าแรกเข้าหรือเปล่า ถ้าลดแล้วรัฐจะซับซิดี้ให้ยังไง จะต้องรู้แล้ว”

ล่าสุด “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังดำเนินการระบบตั๋วร่วมแมงมุม คาดว่าเดือน ต.ค.นี้จะสามารถนำมาใช้บริการกับรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีม่วง(เตาปูน-คลองบางไผ่) และแอร์พอร์ตลิงก์ เป็นรูปแบบบัตรใบเดียวใช้ได้ทั้ง 4 ระบบหรือระบบตั๋วต่อ

“ส่วนค่าโดยสารร่วม เช่น จ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียว จะต้องพิจารณารายละเอียด ซึ่ง สนข.ต้องไปศึกษาแต่ละสัญญามีเงื่อนไขกันยังไงบ้าง จะต้องซับซิดี้ให้เอกชนหรือไม่ ก็ยังไม่สามารถตอบได้ ขอดูรายละเอียดและการศึกษาก่อน”

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รองผู้ว่าการและรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า การพิจารณาค่าแรกเข้าในการใช้รถไฟฟ้าร่วมหลายระบบจะเป็นสเต็ปต่อจากที่ใช้บัตรแมงมุมใบเดียวใช้บริการรถไฟฟ้า 4 สายแล้ว เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับสัญญาสัมปทานเดิมที่ทั้ง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)ดำเนินการอยู่ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาว่าเมื่อรัฐให้ลดค่าแรกเข้า มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นแล้วรายได้เอกชนลดลงหรือเท่าเดิม

“ถ้าเท่าเดิมรัฐก็ไม่ต้องรับภาระให้ การที่ รฟม.รับภาระให้ BEM ในส่วนค่าแรกเข้า 14 บาทของสายสีน้ำเงินหลังเชื่อมต่อกับสายสีม่วงที่สถานีเตาปูน เพราะ BEM ยึดตามสัญญา ส่วนสีชมพูกับสีเหลืองในสัญญาสัมปทานที่ทำไว้กับ BTS กำหนดค่าแรกเข้าแล้ว 14 บาท”

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การที่ภาครัฐยังไม่เชิญ BEM ที่รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจาก รฟม. และ BTSC ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) มาเจรจาถึงแนวทางการกำหนดค่าแรกรถไฟฟ้า เนื่องจากรัฐไม่อยากจะอุดหนุนส่วนต่างให้กับเอกชน เพราะยังไงเอกชนจะต้องให้รัฐซับซิดี้ให้ เพราะเป็นการแก้สิ่งที่นอกเหนือจากสัญญาสัมปทาน

สิ่งที่รัฐทำได้คือต้องรอให้สัมปทานของรถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอสหมดก่อนถึงจะมาเริ่มหาข้อสรุปร่วมกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐที่จะต้องการลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนหรือไม่ ถ้าต้องการก็ต้องรับภาระส่วนต่างตรงนี้ไป เฉลี่ยประมาณ 100 ล้านบาทต่อเดือน

“ปัจจุบันรัฐโดย รฟม.ก็รับภาระค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าใต้ดินหลังมีการเชื่อมต่อกับสายสีม่วง ซึ่งสายสีน้ำเงินรัฐเป็นผู้ลงทุนงานโยธาให้ จะต่างจากบีทีเอสที่เอกชนลงทุนเองทั้งหมด ซึ่งเข้าใจว่าเอกชนคงจะมีคำถามว่า ทำไมสายสีน้ำเงินยังรับค่าใช้จ่ายให้ แล้วการที่รถไฟฟ้าสายใหม่มาเชื่อมกับบีทีเอส หากจะลดราคาแล้วทำไมรัฐจะรับภาระไม่ได้” แหล่งข่าวกล่าวและว่า รัฐสามารถกำหนดค่าแรกเข้าในรถไฟฟ้าสายใหม่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สีม่วง สีชมพู สีเหลือง และสีส้ม ที่กำหนดไม่ได้คือสายสีเขียว ส่วนสายสีแดงอยู่ที่นโยบายจะดึงเข้าร่วมด้วยหรือไม่

สำหรับสายสีเขียวที่มีการสร้างส่วนต่อขยายจากแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มาเชื่อมกับส่วนต่อขยายของ กทม.และส่วนที่เป็นสัมปทานของบีทีเอส ยังเป็นที่กังวลหากไม่มีการลดค่าแรกเข้า และโครงการอยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม.จะต้องเสียค่าโดยสาร 3 ต่อ คือ จ่ายบีทีเอส กทม.และ รฟม. แต่หากอยู่ในความดูแลของ กทม.จะจ่าย 2 ครั้ง คือ บีทีเอสและ กทม. แต่ กทม.ต้องรื้อค่าโดยสารส่วนต่อขยายใหม่ทั้งหมด เนื่องจากระยะทางเพิ่มขึ้น

ด้าน “สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บีทีเอสซี กล่าวย้ำว่า พร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐจัดทำระบบตั๋วร่วมเต็มที่ เพราะได้ร่วมมือกับรัฐมาตั้งแต่ต้นและเป็นรายแรกในการเซ็น MOU หรือบันทึกความร่วมมือกับรัฐเพื่อพัฒนาระบบตั๋วร่วม ซึ่งบริษัทได้พยายามจะให้บัตรตั๋วร่วมสามารถใช้ร่วมกับบัตรแรบบิทได้

อีก 3 ปีข้างหน้า เมื่อมีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าออกไปหลายสายถ้าเป็นสายสีเขียวด้วยกันจะไม่มีค่าแรกเข้า แต่หากเข้าไปใช้ในระบบสายสีอื่น ๆ จะมีค่าแรกเข้า เช่น สายสีชมพู สีเหลือง สีน้ำเงิน ซึ่งตรงนี้บริษัทพร้อมที่จะหารือร่วมกับทุกฝ่ายและภาครัฐเรื่องค่าแรกเข้าเพื่อให้เกิดความพอดี และประชาชนไม่เดือดร้อนให้ win win ทั้ง 3 ฝ่าย

เพิ่มเติม : https://www.prachachat.net/property/news-98086

ลงทุนรถเมล์หมื่นล้านฟีดเดอร์ป้อนรถไฟฟ้า

“คีรี” สนลงทุนธุรกิจรถเมล์ 1 หมื่นล้าน ซุ่มเจรจาซื้อกิจการรถร่วม เป็นฟีดเดอร์ป้อนคนใช้รถไฟฟ้าสารพัดสี พร้อมยกระดับคุณภาพการบริการคมนาคมขนส่งไทย ต่อยอดบัตรแรบบิท

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริหาร บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า มีความสนใจจะเข้าลงทุนเดินรถเส้นทางรถโดยสารประจำทาง เพื่อเป็นฟีดเดอร์ให้กับโครงข่ายรถไฟฟ้าที่จะมีการขยายเส้นทางใหม่ไปยังชานเมืองและเข้าไปในถนนในซอยต่าง ๆ ให้การเดินทางด้านระบบขนส่งสมบูรณ์ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละอียด

“ตอนนี้ยังไม่สรุป แต่เราสนใจจะเข้าไปในธุรกิจนี้ เพราะเดินรถบีอาร์ทีให้ กทม.อยู่แล้ว ถ้าสรุปเมื่อไหร่ ก็พร้อมเริ่มได้ทันที เพราะมีบุคลากรอยู่แล้ว ถามผมว่าทำได้ไหม ทำได้ เพราะเป็นโครงข่ายมาเสริมกับรถไฟฟ้า ผมจะทำให้เรื่องของการจราจรในกรุงเทพฯสมบูรณ์ที่สุด อยู่ที่นโยบายรัฐบาล”

นายคีรีกล่าวว่า สำหรับรูปแบบการดำเนินงานจะมีทั้งซื้อรถใหม่และปรับเส้นทางใหม่ให้สอดคล้องกับเส้นทางรถไฟฟ้า ส่วนรูปแบบการลงทุนมีหลายรูปแบบ เช่น ซื้อกิจการเส้นทางรถเมล์ที่มีอยู่เดิมของเอกชน รถร่วม หรือจะร่วมกัน ยังพิจารณารายละเอียดกันอยู่

“ถ้าผมทำจะทำใหญ่เลย ไม่เล็ก จะได้เปลี่ยนคุณภาพต่าง ๆ ของรถเมล์ให้ดีขึ้น ซึ่งเราก็สนใจเรื่องบัตรโดยสาร e-Ticket บนรถเมล์ด้วย เพราะสามารถใช้ร่วมกับบัตรแรบบิทบีทีเอส และตั๋วร่วมของรัฐได้”

นายคีรีกล่าวว่า ตั้งแต่ปลายปี 2561 เป็นต้นไป รถไฟฟ้าที่บีทีเอสได้รับจ้างเดินรถให้จะเริ่มเปิดบริการครบ ซึ่งภายในเดือน ธ.ค. 2561 สายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กม.จะเปิดบริการเต็มเส้นทางจากปัจจุบันเปิดถึงสถานีสำโรง

จากนั้นปี 2562 จะเปิดบริการสายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 11.8 กม.ก่อน 1 สถานี จากหมอชิต-เซ็นทรัลลาดพร้าว ซึ่งทั้ง 2 เส้นทางจะเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 2563 ขณะที่สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม. และสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30 กม. จะสร้างเสร็จปลายปี 2563 และเปิดบริการในปี 2564 ทำให้มีรถไฟฟ้าให้บริการ 144 กม. และมีคนใช้บริการประมาณ 2 ล้านเที่ยวคนต่อวัน

ยังไม่รวมถึงรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ที่จะเปิดบริการอีก ทั้งสายสีน้ำเงินต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค และสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต คาดว่าจะมีผู้โดยสารอีกจำนวนมากที่มาใช้บริการ ดังนั้นการที่มีระบบฟีดเดอร์ป้อนคนมายังสถานีรถไฟฟ้าง่ายและสะดวกมากขึ้น รวมถึงการใช้บัตรใบเดียวจ่ายค่าโดยสารจะยิ่งทำให้คนมาใช้บริการมากขึ้นอีกอย่างแน่นอน จึงทำให้บริษัทเริ่มศึกษาเพื่อจะเข้ามาลงทุนธุรกิจรถเมล์เป็นโครงข่ายขนส่งเพิ่มเติม

เพิ่มเติม : https://www.prachachat.net/property/news-90364

ลุ้นตอม่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเลี่ยงเวนคืนพื้นที่

“รฟม.” เดินหน้าศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย แยกรัชดาฯ-แยกรัชโยธิน 2.6 กม.
กำหนดสรุปผล มี.ค.61 ลุ้นตั้งเสาตอม่อใน สน.พหลโยธิน เลี่ยงเวนคืนพื้นที่ชาวบ้าน

วานนี้ (15 ธ.ค.) นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
(รฟม.) เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 งานศึกษารายละเอียดความ
เหมาะสม ออกแบบและศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการ
ของรัฐ พ.ศ.2556 (PPP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย แยกรัชดาฯ แยกรัชโยธิน ระยะทาง
2.6 กิโลเมตร (กม.)

นายสาโรจน์ เปิดเผยว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม.
จะเริ่มก่อสร้างช่วงต้นปี 2561 แล้วเสร็จในปี 2564 โดยเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ที่ช่วยส่งต่อผู้โดยสาร
ให้รถไฟฟ้าสายหลักและจะมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าหลายสาย

ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวว่า ผู้ศึกษาและออกแบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วง
แยกรัชดาฯ-แยกรัชโยธิน นำเสนอข้อมูลว่า ส่วนต่อขยายแยกรัชดาฯ-รัชโยธินจะมี 2 สถานี คือ
สถานี YLEX-01 บริเวณหน้าศาลอาญาและมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และสถานี YLEX-020
บริเวณแยกรัชโยธิน

สำหรับสถานีปลายทาง YLEX-02 บริเวณ แยกรัชโยธินมี 2 ทางเลือก แนวทางที่ 1 จะตั้งตอม่อ
ในบริเวณพื้นที่สถานีตำรวจพหลโยธิน และสร้างทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีพหลโยธิน 24 (N10) ของ
รถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่ง รฟม. ต้องหารือ
กับการรถไฟฯ ว่าจะเป็นขอเช่าพื้นที่หรือเวนคืนพื้นที่

แนวทางที่ 2 ตั้งสถานีบริเวณพื้นที่ซอยพหลโยธิน 28 และสร้างทางเดินเชื่อมต่อไปยังสถานีรัชโยธิน
(N11) ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยบริเวณดังกล่าวเป็นอู่ซ่อมรถและร้านขายวัสดุก่อสร้าง ซึ่งต้อง
เวนคืนกว่า 1 ไร่

เพิ่มเติม : http://daily.bangkokbiznews.com

ขยายปลายสีเหลืองไปแยกรัชโยธิน เชื่อมสายสีเขียว

จัดรับฟัง 2 ทางเลือก-ใช้ที่ดินการรถไฟหรือเวนคืน เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.60 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้า

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1154313

รฟม.ระดมกึ๋นส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว – สำโรง (แยกรัชดา – ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน) โดยในการประชุมครั้งนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลโครงการและแผนการดำเนินงาน แนวคิดการกำหนดแนวเส้นทาง แนวทางการศึกษา ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม และกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสีย ได้รับทราบ และร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ตลอดจนร่วมหารือถึงความเหมาะสมและเพียงพอของมาตรการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแนวทางการพัฒนาโครงการต่อไป

เพิ่มเติม : http://www.banmuang.co.th

รฟม.ห้าม BEM ถอดเก้าอี้ MRT เพิ่ม

ให้หามาตรการใหม่-จัดรับฟังความคิดเห็นสายสีเหลือง 15 ธ.ค.นี้
นายรณชิต แย้มสอาด ที่ปรึกษา รักษาการรองผู้ว่าการ ฝ่ายปฏิบัติการ รฟม. เปิดเผยความคืบหน้า…

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1146287

ถกแผนงานสีเหลืองตัดสีส้มที่ลำสาลี จร.แนะใช้พระราม 9 แทนรามคำแหง

พ.ต.ท.รังสรรค์ บำรุง รอง ผกก.จร.สน.หัวหมาก เปิดเผยว่า เร็วๆนี้ได้เชิญผู้ควบคุมงานโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี

และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง มาประชุมหารือเรื่องแผนงานก่อสร้างและแผนจัดการจราจรระหว่างก่อสร้างจุดตัดโครงการที่ถนนรามคำแหง-ถนนศรีนครินทร์…

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th

กฟน.ลุยนำสายไฟตามแนวรถไฟฟ้าสีเหลือง-ชมพูลงใต้ดิน

“การไฟฟ้านครหลวง” ลงนาม “ซิโน-ไทย” ก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินตลอดแนวโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู

นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวว่า กฟน.ดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความมั่นคงระบบไฟฟ้า โดยครั้งนี้ได้รับความร่วมมือกับบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในสัญญาจ้างงานก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินตลอดแนวโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทางรวม 33 กิโลเมตร และสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) ระยะทางรวม 58 กิโลเมตร ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รวมมูลค่าการก่อสร้างประมาณ 7,000 ล้านบาท

เพิ่มเติม : http://www.bangkokbiznews.com