เบี่ยงจราจรลาดพร้าว 41-ลาดพร้าว 41/1

รฟม. แจ้งปิดเบี่ยงจราจรถนนลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 41-ลาดพร้าว 41/1 เพื่อรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค สร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วันที่ 22 มิ.ย.-22 ก.ค.61 ตลอด 24 ชม.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 41 ถึง ซอยลาดพร้าว 41/1 ตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย.-22 ก.ค.61 ตลอด 24 ชม. เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ประกอบด้วย การปิดเบี่ยงจราจรบริเวณซอยลาดพร้าว 41 ถึง 41/1 จะปิดการจราจรฝั่งขาเข้า ช่องที่ 2 และช่องที่ 3 (นับจากเกาะกลาง) ตลอด 24 ชม. โดยผู้ใช้ทาง สามารถสัญจรได้ในช่องที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) และ ช่องที่ 4 (ชิดทางเท้า) และในเวลา 22.00-04.00 น. จะปิดการจราจรช่องที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) เพิ่มอีก 1 ช่องจราจร เพื่อขนย้ายเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่ดำเนินงาน

ทั้งนี้การเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถ สอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจร ได้ที่เบอร์โทร 0 2610 4915 และ 09 8257 5555

ชมพู-เหลืองต้นแบบรถไฟฟ้าภูเก็ต

จ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์แนวทางให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟรางเบา หรือ แทรมจ.ภูเก็ต คาดใช้รูปแบบคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพู ได้ข้อสรุปชัดใน 4 เดือน ก่อนเสนอครม.อนุมัติ

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)แจ้งว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟรางเบา (LightRail Transit หรือ Tramway) หรือแทรมจ.ภูเก็ตช่วงท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลองวงเงิน 3.94หมื่น หนึ่งในแพคเกจร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลกับเอกชนระยะเร่งด่วน(PPP Fast Track) ที่คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(บอร์ดพีพีพี) ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ ได้สั่งการให้รฟม.เร่งดำเนินการนั้น

ขณะนี้ได้คัดเลือกสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(บริษัทหลัก) ร่วมกับบริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด และบริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาศึกษาและวิเคราะห์แนวทางให้เอกชนร่วมลงทุนวงเงิน 40 ล้านบาทแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาราว 4เดือนก่อนเสนอผลการศึกษาให้ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟม.เห็นชอบก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ภายในปีนี้ หากได้รับอนุมัติจะต้องดำเนินการตั้งคณะกรรมการมาตรา35 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ56) เพื่อเข้ามาคัดเลือกเอกชนต่อไป

ายงานข่าวแจ้งต่อว่า แนวทางการร่วมทุนคาดว่าจะใช้รูปแบบคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง)และรถไฟฟ้าสายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี) เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในรูปแบบPPP Net Cost โดยภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสนับสนุนวงเงินลงทุนบางส่วน และภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธาค่างานระบบและขบวนรถไฟฟ้า และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรวมทั้งให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง แต่ต้องรอสรุปผลการศึกษาที่ชัดเจนอีกครั้ง

อย่างไรก็ตามรฟม.ยินดีเปิดกว้างให้เอกชนท้องถิ่นที่มีศักยภาพและสนใจเข้ามาร่วมประมูลโครงการโดยรฟม.จะไปศึกษาแนวทางการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาจ.ขอนแก่นว่าเอกชนท้องถิ่นมีแนวทางความร่วมมือลงทุนกันอย่างไร จำเป็นต้องจดทะเบียนเพื่อก่อตั้งบริษัทที่ประกอบด้วยผู้ถือหุ้นจากเทศบาลและนักลงทุนแบบบริษัท ขอนแก่น ทรานซิทซิสเท็มส์ฯ หรือ เคเคทีเอส (KKTS) หรือไม่

สำหรับรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ตคาดว่าจะมีผู้โดยสารเทื่อเปิดบริการคาดว่าจะมีผู้โดยสารราว 70,000คนต่อวัน มีจุดเริ่มต้นบริเวณสถานีรถไฟท่านุ่น จ.พังงาเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟและมีจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณห้าแยกฉลองจ.ภูเก็ต(บนถนนเจ้าฟ้าตะวันออก ห่างจากห้าแยกฉลอง 200เมตร) มี24 สถานี รวมระยะทาง 58.5 กม.คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างเฟสแรกช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลองใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี มี 6 ทางลอดและ 1 สถานียกระดับ ที่สนามบินนานาชาติภูเก็ต

อ่านต่อได้ที่ : https://dailynews.co.th/economic/648429

คืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีเหลือง สร้าง3ปี3เดือนทันใช้ปี 64

รฟม. แจ้งย้ายจุดกลับรถลาดพร้าว 116 เริ่ม 10 มิ.ย.นี้ รื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง วงเงินลงทุนกว่า 5 หมื่นล้าน สร้าง 3 ปี 3 เดือน คาดเปิดให้บริการปี 64

สืบเนื่องจากกรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เร่งรัดแผนงานจากกำหนดการเดิมในปี พ.ศ. 2572 มาอยู่ในช่วงแผนงานปัจจุบัน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนลาดพร้าว คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2564 ซึ่งจะเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว มีแนวเส้นทางอยู่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ และสิ้นสุดเส้นทางในจ.สมุทรปราการ

โดยประกอบไปด้วยสถานีทั้งหมด 23 แห่ง มี 4 สถานีเชื่อมต่อสถานีหลัก 1.สถานีรัชดา เชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล 2.สถานีลำสาลี เชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 3.สถานีพัฒนาการ เชื่อมต่อแอร์ฟอร์ตเรลลิงค์ และรถไฟสายตะวันออก และ 4.สถานีสำโรง เชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 30.4 กม. โรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง

ความคืบหน้า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความจำเป็นต้องย้ายจุดกลับรถบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 116 (ชั่วคราว) ตลอด 24 ชม. ตั้งแต่วันที่ 10-25 มิ.ย. เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ขอให้ผู้ใช้เส้นทาง ฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออก ใช้จุดกลับรถที่ปากซอยลาดพร้าว 95 (บริเวณหน้าฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต) เป็นการทดแทน

อย่างไรก็ตาม จำนวนวงเงินลงทุน แบ่งออกเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,013 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 23,206 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 22,591 ล้านบาท รวมเป็น 51,810 ล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรวมเป็นเวลา 33 ปี 3 เดือน อันได้แก่ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และ ระยะเวลาเดินรถ 30 ปี.

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/economic/648127

ผลศึกษารถไฟฟ้าส่วนต่อขยายใกล้แล้วเสร็จ

ผลการศึกษาชมพู-เหลือง ใกล้แล้วเสร็จ รฟม.เตรียมชงบอร์ดอนุมัติ เดือนก.ค.นี้

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)แจ้งถึงความคืบหน้าส่วนต่อขยายสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี จากสถานีศรีรัชเข้าไปที่เมืองทองธานี และโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ต่อขยายเส้นทางไปตามถนนรัชดาภิเษกสิ้นสุดบริเวณแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม.ว่า ขณะนี้ผลการศึกษาส่วนต่อขยายทั้ง2เส้นทางใกล้แล้วเสร็จแล้วทั้งผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งการออกแบบแนวเส้นทางการก่อสร้าง ซึ่งรฟม.เตรียมจะเสนอเข้าคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟม.พิจารณาเห็นชอบโครงการภายในเดือนก.ค.นี้ และจะเสนอต่อไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอต่อไปยังคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เห็นชอบโครงการ ถ้าคจร. มีความเห็นเพิ่มเติมต้องกลับมาพิจารณาอีกครั้ง
จากนั้นรฟม.จะเสนอต่อไปยังคณะกรรมการมาตรา43 เพื่อให้พิจารณาโครงการว่าจะให้โครงการส่วนต่อขยายเป็นโครงการสายสีชมพูและเหลืองเดิม หรือจะให้เป็นโครงการใหม่ ซึ่งหากเป็นโครงการใหม่ก็จะต้องดำเนินประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างต่อไป

รายงานข่าวแจ้งต่อว่าเบื้องต้นส่วนต่อขยายนั้น กิจการร่วมค้าบีทีเอสอาร์ ผู้รับสัมปทานก่อสร้างและเดินรถสายสีชมพูและเหลือง จะดำเนินการก่อสร้างเอง โดยประเมินค่าก่อสร้างประมาณ 6 พันล้านบาท แต่เนื่องจากโครงการดังกล่าวจะดำเนินการได้ต้องให้รฟม.เป็นผู้เสนอโครงการ จึงต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาโดยภาครัฐ ทั้งนี้สำหรับระยะเวลาการก่อสร้างส่วนต่อขยายนั้นรฟม.ตั้งใจจะให้ก่อสร้างแล้วเสร็จใกล้เคียงกับเส้นทางสายสีชมพูและเหลืองที่กำลังก่อสร้างอยู่ขณะนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก

อ่านต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/economic/647551

รฟม. แจ้งปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 101 ถึง ซอยลาดพร้าว 101/1 เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2561 ถึง 10 กรกฎาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง

รฟม. แจ้งปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 101 ถึง ซอยลาดพร้าว 101/1

เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

  ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2561 ถึง 10 กรกฎาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์  คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 101 ถึง ซอยลาดพร้าว 101/1 ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2561 ถึง 10 กรกฎาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ปิดการจราจร ตลอด 24 ชั่วโมง ฝั่งขาเข้า มุ่งหน้าแยกรัชดา – ลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 101 ถึง ซอยลาดพร้าว 101/1 ช่องที่ 2 และช่องที่ 3 (นับจากเกาะกลาง) โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสัญจรได้ในช่องทางที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) และช่องทางที่ 4 (ชิดทางเท้า)

และในเวลา 22.00 – 04.00 น. จะปิดการจราจรช่องทางที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) เพิ่มอีก 1 ช่องจราจร เพื่อขนย้ายเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่ดำเนินงาน

ทั้งนี้ การเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจร ได้ที่เบอร์โทร 0 2610 4915 และ 09 8257 5555

———————————————————————————-

กองสื่อสารองค์กร สำนักผู้ว่าการ

โทร 0 2716 4000 ต่อ 1720

โทรสาร 0 2716 4019

Email : pr@mrta.co.th

อ่านต่อได้ที่ : http://www.fm91bkk.com/

อ่านต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/economic/647420

อ่านต่อได้ที่ : http://www.banmuang.co.th/news/economy/113860

เร่งเปิดรีเวิร์สด่วนอาจณรงค์ขุดก่อสร้างรถติดสาหัส

บก.จร.เร่งศึกษาความเหมาะสม พร้อมประสานกับการทางฯให้เปิดได้เร็วที่สุด หวั่นในพื้นราบติดขัดมากขึ้น อาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2561 เวลา 16.30 น.

พล.ต.ต.ธีรศักดิ์ สุริวงศ์ ผู้บังคับการตำรวจราจราจร (ผบก.จร.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการเปิดการจราจรช่องทางพิเศษบนทางด่วนรามอินทรา-เอกมัย ว่า ภายหลังจากที่กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ได้มีการศึกษาความเหมาะสมในการเปิดช่องทางพิเศษ หรือรีเวิร์สซิเบิลเลนส์ บนทางด่วนรามอินทรา-เอกมัย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด เนื่องจากได้รับผลกระทบมาจากการปิดก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ในถนนรามคำแหง เพราะประชาชนโดยส่วนมากจะเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว และหันมาใช้ทางด่วนและถนนประดิษฐ์มนูธรรมเพิ่มมากขึ้น โดยจากการศึกษาเบื้องต้น เห็นว่าสามารถดำเนินการได้ ซึ่งทางตำรวจราจรได้เสนอไปยังการทางพิเศษพิเศษแห่งประเทศไทยแล้ว เพื่อขอดำเนินการปรับกายภาพด้านบนโดยการปรับปรุงและเปิดแบริเออร์ออก เพื่อใช้เป็นช่องทางกลับเข้าสู่ช่องทางปกติ และช่องทางออกสู่ช่องรีเวิร์สซิเบิลเลน โดยขณะนี้การทางพิเศษฯแจ้งว่าอยู่ระหว่างการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการ เนื่องจากการปรับปรุงจะต้องมีค่าใช้จ่าย

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th

ยกค่าฝุ่นจิ๋วกทม.เป็นภัยพิบัติ อนาคตก่อสร้างอื้อวิกฤตหนักแน่

อดีตอธิบดีคพ.ยกค่าฝุ่นละอองPM2.5ในกทม.เป็นภัยพิบัติ เร่งแก้ปัญหาจราจรห้ามจอดรถริมถนน-จำกัดรถยนต์เข้าเมือง “กทม.”ชี้5ปีจากนี้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า-อาคารใหม่130แห่งทำฝุ่นพิษเมืองกรุงวิกฤตหนัก

ศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 เวลา 16.23 น.

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ที่กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มีการจัดเสวนาหัวข้อ “หาทางออกร่วมกันในการลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” โดยนายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อดีตอธิบดีคพ.และอาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จากสถิติค่าฝุ่นละออง PM2.5 เมื่อปี 2556 เปรียบเทียบกับปี 2560 ค่าฝุ่นละอองลดลงร้อยละ 25 แต่ค่าฝุ่นที่ลดลงไม่ได้บอกว่าให้วางใจ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทุกปี สิ่งที่หน่วยงานราชการควรทำคือชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจและรับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ทั้งนี้การแก้ปัญหาต้องเกาให้ถูกที่คัน สภาพอากาศที่เป็นตัวแปร ส่วนแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองมาจากการเผาไหม้ของดีเซลจากการจราจรและอุตสาหกรรม ร้อยละ 52 เกิดจากการเผาร้อยละ 35 และเกิดจากการแปรปรวนของของสภาพอากาศผนวกกับการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ ดังนั้นเห็นจำเป็นต้องใช้มาตรการระยะยาวเพื่อลดค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5 ควบคู่กับการใช้มาตรการระยะสั้น 3 เดือน เป็นมาตรการเฉพาะกิจ ช่วงเดือนก.พ.-เม.ย. ของทุกปี และเห็นควรยกระดับขึ้นเป็นภัยพิบัติของประเทศ…

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th

แจ้งเบี่ยงจราจรรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง ลงเสาเข็มรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน -ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จะทำการรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างสำหรับเตรียมดำเนินการก่อสร้างเสาเข็มทดสอบ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ในบริเวณฝั่งตรงข้ามอาคารจอดแล้วจรของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) ถนนรัชดาภิเษก โดยจะปิดช่องทางซ้ายสุด ฝั่งขาเข้า 1 ช่องทางระยะทางประมาณ 200 เมตร ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. ถึงวันที่ 20 พ.ค. 61 ระหว่างเวลา 22.00-04.00 น. ซึ่งอาจส่งผลให้การจราจรชะลอตัว ทั้งนี้ผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจรฯ ยังคงสามารถใช้ทางยกระดับเข้า-ออก อาคารจอดแล้วจรฯ ได้ตามปกติ

การปิดช่องทางจราจรด้านซ้ายสุด ฝั่งขาเข้า 1 ช่องจราจร ถนนรัชดาภิเษก ดังกล่าว จะปิดเฉพาะวันที่มีการขนย้ายเครื่องจักรหนัก และขนส่งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อบรรเทาผลกระทบกับการจราจร ผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจรฯ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้รฟม. ตระหนักถึงมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด จึงกำชับให้บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างดำเนินงานตามระเบียบและมาตรฐานความปลอดภัยโดยติดตั้งป้ายเตือน ป้ายจราจร กรวยยาง และสัญญาณไฟส่องสว่าง ตลอดเส้นทางที่ปิดการจราจร ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวอาจส่งผลให้การจราจรชะลอตัว ติดขัด และอาจมีเสียงดังรบกวนจึงขออภัยในความไม่สะดวกกับประชาชนที่สัญจรในเส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 098-257-5555…

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/economic/632793

ออกกฎเหล็กคุมเข้ม4ด้านโครงการสร้างรถไฟฟ้า

กทม.คุมเข้มผู้รับเหมาสร้างรถไฟฟ้า ห้ามขุดเจาะสร้างมลพิษและปัญหาจราจร หากละเลยไม่ปฏิบัติตามระงับการก่อสร้างทันที

นายวันชัย ถนอมศักดิ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า จากปัญหาการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค หรือโครงการก่อสร้างไฟฟ้าต่างๆ ที่ผ่านมา ซึ่งกระทบต่อระบบระบายน้ำ ปิดทางน้ำไหล ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง กระทบต่อสภาพพื้นที่ในหลายๆ บริเวณ อีกทั้งการก่อสร้างยังทำแผนการดูแลพื้นที่ไม่เหมาะสม ไม่ครอบคลุมถึงปัญหาสภาพแวดล้อมอย่างรอบด้าน ทำให้เกิดมีส่วนสร้างปัญหา ฝุ่นละอองฝุ่งกระจาย สร้างปัญหาการจราจรติดขัดขึ้น ทำให้กทม.ต้องเร่งวางแผนการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ต่างๆ ในพื้นที่เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งขณะนี้กรุงเทพฯจะเกิดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ อีก 3 โครงการ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ซึ่งโครงการดังกล่าวจะก่อสร้างตัดผ่านในถนนสายหลักของพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งถนนแจ้งวัฒนะ ถนนลาดพร้าว ถนนศรีนครินทร์ ถนนรามคำแหง โดยแต่ละเส้นทางต้องมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม ไม่ให้กระทบต่อปัญหาการจราจรและฝุ่นละอองเพิ่มเติมยิ่งขึ้น…

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th

“ถนนรามคำแหง”คลี่คลายแล้ว”ลาดพร้าว”ทำใจ

ขุดรถไฟฟ้าสีส้ม ถนนรามคำแหงคลี่คลายแล้ว ประชาชนเริ่มปรับตัว หวยไปออกที่ถนนลาดพร้าวต่อ สายเหลืองลงพื้นที่ยาวไปถึงปี 63 เช่นกันตร.ยอมรับจัดรถวิ่งสวนทางลำบาก ช่องจราจรน้อยป้ายรถเมล์ถี่ อังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 19.14 น.

 

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/economic/629733