ความก้าวหน้าการก่อสร้าง เดือนกุมภาพันธ์ 2563
ความก้าวหน้าการก่อสร้างเดือนธันวาคม 2562
ดีเดย์ใช้ตั๋วร่วม 23 มิ.ย.นี้ รฟม.ใจดีแจกฟรี2แสนใบ
คมนาคม พร้อมเปิดใช้บัตรแมงมุม 23 มิ.ย.นี้ แจกฟรี 2 แสนใบ ที่สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง 22 มิ.ย.นี้ เล็งพัฒนาเป็นบัตรเครดิตชำระทุกสิ่งด้วยบัตรใบเดียว ด้านรฟม.เร่งแผนเชื่อมตั๋วร่วมเรือ-ทางด่วน-มอเตอร์เวย์หวังเสร็จทุกระบบขนสาธารณะภายในปีนี้ เชื่อบีทีเอสยอมเชื่อมตั๋วร่วมด้วยหวั่นเสียลูกค้า
19 มิ.ย. 61 – นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 มิ.ย. 2561 นี้ จะเป็นวันแรกของการเปิดใให้บริการบัตรแมงมุม หรือ ตั๋วร่วม เพื่อส่งเสริมการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะด้วยบัตรใบเดียว โดยในวันที่ 22 มิ.ย. นี้ ทาง การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเริ่มแจกบัตรฟรีจำนวน 900 ใบตามสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง หลังจากนั้นจะทยอยแจกอีก 200,000 ใบจนกว่าบัตรจะหมด
สำหรับบัตรแมงมุมี่จะแจกประชาชนนั้น จะเป็นบัตรเปล่าไม่มีเงินอยู่ข้างใน โดยผู้รับสามารถนำบัตรไปเติมเงินได้ที่เคาน์เตอร์ขายตั๋วจำนวน150 บาท แบ่งเป็น ค่ามัดจำบัตร 50 บาทและค่าเดินทาง 100 บาท ซึ่งในช่วงแรกจะเริ่มเชื่อมตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินก่อนในช่วงปลายเดือนนี้ก่อนขยายไปเชื่อมระบบกับรถเมล์จำนวน 2,600 คันและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ในวันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป
สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับคือการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า 2 สายโดยไม่เสียค่าแรกเข้าซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารภาพรวมถูกลงด้วย เช่น การขึ้นรถไฟฟ้าสายสีม่วงแล้วไปต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะเสียค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว จากเดิมต้องเสียค่าแรกเข้าครั้งละ 14-15 บาท นอกจากนี้วงเงินในบัตรแมงมุมยังสามารถนำไปชำระเป็นค่าจอดรถในอาคารจอดรถของรถไฟฟ้าทั้งสองสายตลอดจนนำไปใช้แลกเปลี่ยนสิทธิประโยชน์กับร้านค้าปลีกภายในสถานีรถไฟฟ้าได้อีกด้วย
นายอาคมกล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างพัฒนาบัตรแมงมุมโฉมใหม่ในรูปแบบระบบเทคโนโลยีบัตร EMV (Euro/ MasterCard และ Visa) หรือระบบบัตรเครดิตดิจิทัลที่เป็นสากลมีใช้กันทั่วโลกมาใช้ร่วมในระบบตั๋วร่วม คาดว่าจะสามารถเปิดตัวพร้อมเริ่มใช้งานได้ภายในกลางปีหน้า หรือใช้เวลาพัฒนาราว 12 เดือนนับจากนี้ สำหรับระบบ EMV จะมาในรูปแบบของเครดิตการ์ดที่สามารถใช้โดยสารหรือชำระสินค้าได้เลยโดยไม่ต้องเติมเงินก่อนแต่จะต้องรอชำระเป็นงวดไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
นายสมประสงค์ สัตยมัลลี ผู้อำนวยการสำนักธุรกิจบัตรโดยสาร (รฟม.)กล่าวว่า รฟม.ตั้งเป้าจะเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบให้เข้ามาอยู่ในระบบตั๋วร่วมได้ภายในปี 2561 เริ่มจากการเชื่อมต่อระยะแรกคือรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน ระยะที่สองรถเมล์และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และระยะที่สามภายในปีนี้คือการเชื่อมต่อตั๋วร่วมเข้ากับการขนส่งทางน้ำอย่างเรือด่วนและเรือข้ามฟากที่ผ่านมาเอกชนผู้ให้บริการเห็นด้วยแล้วอีก
ทั้งนี้มีบางส่วนได้ดำเนินการติดตั้งระบบอ่านบัตรไปบ้าง โดยจะใช้ประตูกั้นใหม่คล้ายกับรถไฟฟ้า เช่นเดียวกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)คาดว่าจะเริ่มติดตั้งระบบตั๋วร่วมบนทางด่วนทุกสายได้ในช่วงปลายปีนี้เช่นกัน โดยจะเป็นการติดตั้งระบบเครื่องอ่านบัตร (Reader) ในช่องเก็บเงินธรรมดา (Cash) ขณะที่มอเตอร์เวย์สาย 7 ช่วงกรุงเทพ-พัทยาและมอเตอร์เวย์สาย 9 บางปะอิน-บางนานั้นจะติดตั้งระบบตั๋วร่วมและเครื่องอ่านบัตรแล้วเสร็จพร้อมใช้ได้ภายในปีนี้เช่นกัน
“การเชิญชวนผู้บริหารรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างบีทีเอสให้มาเข้าร่วมกับระบบตั๋วร่วมนั้น เป็นเรื่องที่ต้องเจรจากันต่อไป เนื่องจากบีทีเอสมีระบบบัตร Rabbit ซึ่งมีวงเงินรวมกันนับหมื่นล้านบาท ดังนั้นจึงต้องหารือกับเอกชนอย่างใกล้ชิดว่า จะมีแนวทางอย่างไรและดำเนินการได้พร้อมกันในปีนี้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามการรัฐบาลได้กำหนดให้โครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ทุกสายที่กำลังจะเปิดใช้ต้องเข้าร่วมบัตรแมงมุม อาทิ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง รถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นต้น ดังนั้นจึงเชื่อว่าหากประชาชนผู้ใช้ตั๋วร่วมมีมากขึ้น จะเป็นแรงกดดันให้เอกชนต้องมาเข้าร่วมระบบตั๋วร่วมไปตามการช่วงชิงโอกาสตลาด
อ่านต่อได้ที่ : https://www.thaipost.net/main/detail/11683
อาคม ขีดเส้นสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-สีชมพูต้องเสร็จตามแผน
‘อาคม’ ขีดเส้นสร้างรถไฟฟ้าเสร็จภายในกำหนด หลังติดปัญหาเรื่องส่งมอบพื้นที่ล่าช้า 3 เดือน ด้านรฟม.เผยเตรียมเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้แสนล้านภายในไตรมาส 3
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ มว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างกรมทางหลวง(ทล.) กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และอนุญาตให้ใช้พื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้หลังจากตกลงเรื่องการเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้แล้ว โดยการใช้พื้นที่ไม่รบกวนพื้นผิวถนนมากนักเป็นการขอแบ่งพื้นที่ในเขตที่มีอยู่อย่างจำกัดและไม่รบกวนผุ้ใช้ทางเท้าด้วย ขณะเดียวกันเนื่องจากปัญหารถติดในกรุงเทพมหานครยังเป็นปัญหาที่สำคัญจึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าให้สำเร็จตามแผนกำหนดการที่วางไว้ ภายในเดือนตุลาคม ปี2564
อย่างไรก็ตามภายหลังการลงนามในครั้งนี้ กรมทางหลวงจะส่งมอบพื้นที่ถนนที่เส้นทางรถไฟฟ้าทั้งสองสายวิ่งผ่านให้แก่รฟม. สำหรับระยะเวลาใช้พื้นที่ถนนของกรมทางหลวง 39 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายนนี้ เป็นต้นไป ซึ่งล่าช้าไปประมาณ 3 เดือน โดยกรมทางหลวงได้ส่งมอบพื้นที่ใช้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงติวานนท์ – แจ้ววัฒนะ และช่วงหลักสี่-รามอินทรา ส่วนสายสีเหลือง ส่งมอบช่วงศรีนครินทร์ ขณะที่ เส้นทางก่อสร้างสายสีเหลือง เจ้าของพื้นที่มีทั้งกรมทางหลวงและกทม. ซึ่งกทม.ได้ส่งมอบพื้นที่บริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว และแยกลำสาลี เข้าถนนศรีนครินทร์
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ระยะทางทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร รวม 30 สถานี ซึ่งเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ บริเวณใกล้แยกแคราย วิ่งไปตามถนนติวานนท์จนถึงห้าแยกปากเกร็ด จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะผ่านเมืองทองธานี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่แยกหลักสี่บริเวณริมถนนวิภาวดีรังสิต และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ บนถนนพหลโยธิน บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากนั้นวิ่งไปบนถนนรามอินทราจนถึงแยกมีนบุรี แล้ววิ่งเข้าสู่เมืองมีนบุรี ตามแนวถนนสีหบุรานุกิจ จนถึงสะพานข้ามคลองสามวา จึงเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบและข้ามถนนรามคำแหง หรือถนนสุขาภิบาล 3 สิ้นสุดสถานีปลายทางที่บริเวณใกล้แยกถนนรามคำแหง-ร่มเกล้า ซึ่งจะบรรจบกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร รวม 23 สถานี แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว – พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ – สำโรง หรือโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง โดยเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสายสีน้ำเงินที่สถานีรัชดา (สถานีลาดพร้าวของสายสีน้ำเงิน) กับระบบขนส่งมวลชน 4 สาย คือ สายสีเทาของกรุงเทพ สายสีส้มบริเวณทางแยกลำสาลี รถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 และสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง ทั้งนี้ รฟม.กำหนดเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูในเดือนต.ค. 64
อย่างไรก็ตามส่วนด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.01 แสนล้านบาทนั้นคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลงานโยธาได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้และจะสรุปผลการประมูลในช่วงต้นปี 2562 ทั้งนี้ งานดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 6 สัญญา ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี เนื่องจากมีส่วนที่ลงใต้ดินค่อนข้างมากอย่างไรก็ตามหากเป็นเอกชนรายใหม่เข้ามาเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ส่วนต่อขยายนี้ก็อาจจะมีผลต่อต้นทุนงานเดินรถ เนื่องจากปัจจุบัน บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ อยู่
อ่านต่อได้ที่ : https://www.thaipost.net/main/detail/11329