“บีทีเอส” ทยอยเปลี่ยนบัตรโดยสารเที่ยวเดียว “แตะเข้า-สอดออก” แทนแถบแม่เหล็ก

รถไฟฟ้าบีทีเอส เตรียมเปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว จากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง ทยอยเปลี่ยน 8 สถานีแรก เดือนนี้ แล้วเสร็จ พ.ย. นี้ ผู้โดยสารเข้าประตูสถานีเปลี่ยนจากเสียบบัตรเป็นแตะบัตรเพื่อเปิดประตู ถึงปลายทางสอดบัตรเพื่อคืนเหมือนเดิม

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เปิดเผยว่า บริษัทฯ จะเปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียวจากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง (ThinCard) ที่มีความบางมากกว่าบัตรแรบบิท หรือบัตรทั่วไป เพื่อเปลี่ยนเป็นบัตรเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้น รองรับการใช้งานในส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสำโรง – สมุทรปราการ ซึ่งจะเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2561 และเตรียมไว้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – คูคต โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

การเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียวนี้ บริษัทฯ จะเปลี่ยนตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติทั้งหมด ให้เป็นแบบจอสัมผัส (Touch Screen) รวมประมาณ 200 ตู้ และติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วที่มีช่องรับธนบัตรเพิ่มอีก 50 ตู้ เพื่อติดตั้งตามสถานีต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส พร้อมกันไปด้วย ซึ่งจะเริ่มทยอยเปลี่ยนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 ใน 8 สถานีแรก คือ สถานีสยาม สถานีช่องนนทรี สถานีกรุงธนบุรี สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีตลาดพลู สถานีบางหว้า สถานีอุดมสุข และ สถานีแบริ่ง จากนั้นก็จะขยายไปจนครบทุกสถานี โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2561 รวมระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน 

การเปลี่ยนระบบนี้จะทำให้ตู้จำหน่ายตั๋ว และประตูอัตโนมัติเข้าและออกสถานีที่กำลังเปลี่ยนไม่สามารถใช้ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวแบบแถบแม่เหล็ก รวมทั้งบัตรโดยสารประเภท 1 วันได้ แต่ยังคงใช้บัตรแรบบิทได้ ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้จัดแผนทยอยสลับเปลี่ยนไปตามสถานีต่างๆ เพื่อให้เกิดผลกระทบกับผู้โดยสารน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่จะเกิดขึ้น ในช่วงของการปรับเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารบ้าง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งานร่วมกับระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆ ในอนาคต บริษัทฯ ขอเชิญชวนให้ทุกคนใช้บัตรแรบบิทแบบเติมเงิน ซึ่งขณะนี้มีโปรโมชั่นลดค่าโดยสาร 1 บาทต่อ 1 เที่ยวการเดินทาง ซึ่งมีราคาถูกกว่าซื้อทีละครั้ง และมีความสะดวกและประหยัดเวลามากกว่า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส แบบเที่ยวเดียว ใช้บัตรแถบแม่เหล็กนับตั้งแต่เปิดการเดินรถครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2542 หรือเมื่อ 19 ปีก่อน โดยจะต้องกดปุ่มเลือกสถานี และหยอดเหรียญที่เครื่องจำหน่ายตั๋ว ก่อนจะรับตั๋วในรูปแบบแถบแม่เหล็ก นำบัตรไปสอดที่ช่องเสียบบัตรบริเวณประตูเข้าสู่ชานชาลา แล้วรับบัตรเพื่อให้ประตูเปิดออกมา ก่อนจะโดยสารรถไฟฟ้า เมื่อถึงสถานีปลายทาง ให้นำบัตรไปสอดที่ประตูทางออกสถานีเพื่อคืนบัตร ประตูจะเปิดเพื่อออกจากระบบรถไฟฟ้า แม้บัตรโดยสารประเภทเติมเงิน และบัตรโดยสารประเภท 30 วัน จะเปลี่ยนรูปแบบไปใช้ระบบไมโครชิปไร้สายอาร์เอฟไอดี (RFID) แต่ยังคงใช้บัตรแถบแม่เหล็ก สำหรับบัตรโดยสารเที่ยวเดียว และบัตรโดยสารประเภท 1 วัน

อย่างไรก็ตาม หลังการเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียว มาใช้บัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง เวลาเข้าสู่ประตูสถานีจะใช้วิธีแตะบัตรเพื่อเปิดประตู แทนการสอดบัตรแถบแม่เหล็กที่ใช้กันมานาน 19 ปี แต่เมื่อถึงสถานีปลายทางเพียงแค่สอดบัตรเพื่อออกจากสถานีเหมือนเดิม

ตัวอย่างบัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสประเภทเที่ยวเดียว

ปิดจราจร 1 ช่องทาง “แยกสวนหลวง และหน้าธัญญาพาร์ค” ถ.ศรีนครินทร์ เพื่อเตรียมรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนศรีนครินทร์ 2 จุด บริเวณแยกสวนหลวง และห้างสรรพสินค้าธัญญาพาร์ค เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โดยมีรายละเอียดดังนี้

• บริเวณแยกสวนหลวง จะปิดการจราจรช่องทางขวา ชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจร ทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก ระยะทางประมาณ 150 เมตร ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2561 ถึง 29 มิถุนายน 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง

• บริเวณห้างสรรพสินค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์ จะปิดการจราจรช่องทางขวา ชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจร ทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก ระยะทางประมาณ 150 เมตร ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2561 ถึง 1 กรกฎาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ การเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจร ได้ที่เบอร์โทร 0 2610 4915 และ 09 8257 5555

อ่านต่อได้ที่ : http://www.fm91bkk.com

บีทีเอสแจ้งเปลี่ยนบัตรโดยสารเที่ยวเดียวใหม่

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เปิดเผยว่า บริษัท จะเปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียวจากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็น บัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง (Thin Card) ที่มีความบางมากกว่าบัตรแรบบิทการ์ดหรือบัตรทั่วไป เพื่อเปลี่ยนเป็นบัตรเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้นและรองรับการใช้งานในส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ ซึ่งจะเปิดให้บริการประมาณ ปลายปี 2561 นี้ และเตรียมไว้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – คูคต และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง การเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียวนี้บริษัทฯ จะเปลี่ยนตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติทั้งหมดให้เป็นแบบจอสัมผัส (Touch Screen) รวมประมาณ 200 ตู้ และติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วที่มีช่องรับธนบัตรเพิ่มอีก 50 ตู้ เพื่อติดตั้งตามสถานีต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส พร้อมกันไปด้วย ซึ่งจะเริ่มทยอยเปลี่ยนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 ใน 8 สถานีแรก คือ สถานีสยาม สถานีช่องนนทรี สถานีกรุงธนบุรี สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีตลาดพลู สถานีบางหว้า สถานีอุดมสุข และสถานีแบริ่ง จากนั้นก็จะขยายไปจนครบทุกสถานีโดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2561 รวมระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การเปลี่ยนระบบนี้จะทำให้ตู้จำหน่ายตั๋วและประตูอัตโนมัติเข้า และออกสถานี ที่กำลังเปลี่ยนไม่สามารถใช้ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวแบบแถบแม่เหล็กรวมทั้งบัตรโดยสารประเภท 1 วันได้ แต่ยังคงใช้บัตรแรบบิทได้ ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้จัดแผนทยอยสลับเปลี่ยนไปตามสถานีต่างๆ เพื่อให้เกิดผลกระทบกับผู้โดยสารน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ก็ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่จะเกิดขึ้นในช่วงของการปรับเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารบ้าง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งานร่วมกับระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆ ในอนาคต และบริษัทฯ ขอเชิญชวนให้ทุกท่านใช้บัตรแรบบิทแบบเติมเงิน ซึ่งขณะนี้มีโปรโมชั่นลดค่าโดยสาร 1 บาทต่อ 1 เที่ยวการเดินทาง ซึ่งมีราคาถูกกว่าซื้อทีละครั้ง และมีความสะดวกและประหยัดเวลามากกว่า

อ่านต่อได้ที่นี่ : http://www.banmuang.co.th/news/economy/115140

ล้ำไปอีก! บีทีเอสเตรียมเปลี่ยนบัตรโดยสารเที่ยวเดียวจากบัตรแม่เหล็กเป็นบัตรสมาร์ท การ์ด ชนิดบาง

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ จะเปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียวจากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง (Thin Card) ที่มีความบางมากกว่าบัตรแรบบิทการ์ดหรือบัตรทั่วไป เพื่อเปลี่ยนเป็นบัตรเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้นและรองรับการใช้งานในส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ ซึ่งจะเปิดให้บริการประมาณ ปลายปี 2561 นี้ และเตรียมไว้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – คูคต และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และ สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง การเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียวนี้บริษัทฯ จะเปลี่ยนตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติทั้งหมดให้เป็นแบบจอสัมผัส (Touch Screen) รวมประมาณ 200 ตู้ และติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วที่มีช่องรับธนบัตรเพิ่มอีก 50 ตู้ เพื่อติดตั้งตามสถานีต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส พร้อมกันไปด้วย ซึ่งจะเริ่มทยอยเปลี่ยนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 ใน 8 สถานีแรก คือ สถานีสยาม สถานีช่องนนทรี สถานีกรุงธนบุรี สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีตลาดพลู สถานีบางหว้า สถานีอุดมสุข และ สถานีแบริ่ง จากนั้นก็จะขยายไปจนครบทุกสถานีโดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2561 รวมระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กล่าวว่า การเปลี่ยนระบบนี้จะทำให้ตู้จำหน่ายตั๋วและประตูอัตโนมัติเข้า และออกสถานี ที่กำลังเปลี่ยนไม่สามารถใช้ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวแบบแถบแม่เหล็กรวมทั้งบัตรโดยสารประเภท 1 วันได้ แต่ยังคงใช้บัตรแรบบิทได้ ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้จัดแผนทยอยสลับเปลี่ยนไปตามสถานีต่างๆ เพื่อให้เกิดผลกระทบกับผู้โดยสารน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ก็ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่จะเกิดขึ้นในช่วงของการปรับเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารบ้าง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งานร่วมกับระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆ ในอนาคต และบริษัทฯ ขอเชิญชวนให้ทุกท่านใช้บัตรแรบบิทแบบเติมเงิน ซึ่งขณะนี้มีโปรโมชั่นลดค่าโดยสาร 1 บาทต่อ 1 เที่ยวการเดินทาง ซึ่งมีราคาถูกกว่าซื้อทีละครั้ง และมีความสะดวกและประหยัดเวลามากกว่า

อ่านต่อได้ที่ : https://www.prachachat.net/property/news-175188

 

รฟม. แจ้งปิดเบี่ยงจราจรบนถนนศรีนครินทร์ 2 จุด ตลอด 24 ชม เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รฟม. แจ้งปิดเบี่ยงจราจรบนถนนศรีนครินทร์ 2 จุด ตลอด 24 ชม เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนศรีนครินทร์ 2 จุด บริเวณแยกสวนหลวง และห้างสรรพสินค้าธัญญาพาร์ค เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โดยมีรายละเอียดดังนี้
• บริเวณแยกสวนหลวง จะปิดการจราจรช่องทางขวา ชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจร ทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก ระยะทางประมาณ 150 เมตร ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2561 ถึง 29 มิถุนายน 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง
• บริเวณห้างสรรพสินค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์ จะปิดการจราจรช่องทางขวา ชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจร ทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก ระยะทางประมาณ 150 เมตร ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2561 ถึง 1 กรกฎาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ การเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจร ได้ที่เบอร์โทร 0 2610 4915 และ 09 8257 5555
อ่านต่อได้ที่ : http://www.fm91bkk.com

เบี่ยงจราจรลาดพร้าว 41-ลาดพร้าว 41/1

รฟม. แจ้งปิดเบี่ยงจราจรถนนลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 41-ลาดพร้าว 41/1 เพื่อรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค สร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วันที่ 22 มิ.ย.-22 ก.ค.61 ตลอด 24 ชม.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 41 ถึง ซอยลาดพร้าว 41/1 ตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย.-22 ก.ค.61 ตลอด 24 ชม. เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ประกอบด้วย การปิดเบี่ยงจราจรบริเวณซอยลาดพร้าว 41 ถึง 41/1 จะปิดการจราจรฝั่งขาเข้า ช่องที่ 2 และช่องที่ 3 (นับจากเกาะกลาง) ตลอด 24 ชม. โดยผู้ใช้ทาง สามารถสัญจรได้ในช่องที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) และ ช่องที่ 4 (ชิดทางเท้า) และในเวลา 22.00-04.00 น. จะปิดการจราจรช่องที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) เพิ่มอีก 1 ช่องจราจร เพื่อขนย้ายเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่ดำเนินงาน

ทั้งนี้การเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถ สอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจร ได้ที่เบอร์โทร 0 2610 4915 และ 09 8257 5555

สายสีชมพู-เหลืองเริ่มตอกหมุด ดีเดย์! บัตรคนจนขึ้นรถไฟฟ้าฟรี

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความหน้าในการเปิดให้ประชาชนทั่วไปที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐขึ้นได้ทุกสถานีภายในสถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วงตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค.-30 ก.ย.นี้ เพื่อให้ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการฯสามารถขึ้นรถไฟฟ้าฟรีได้ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค.เป็นต้นไป โดย รฟม.คาดว่าเมื่อเปิดให้ประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิฯจะใช้จ่ายได้ในวงเงิน 500 บาท/ใบ/คน โดยจะใช้กับประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการฯใน 7 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และสมุทรสาคร ประมาณ 1.3 ล้านคน

นอกจากนี้ ในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ รฟม.จะแจกบัตรแมงมุมจำนวน 200,000 ใบ ให้กับประชาชนทั่วไป โดยประชาชน สามารถมาขอรับบัตรได้ทุกสถานีของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งในระยะแรกบัตรแมงมุมจะใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้าสายสีม่วงและน้ำเงินเท่านั้น ระยะต่อไปประมาณเดือน ต.ค.2561 จะสามารถนำบัตรแมงมุมมาใช้ได้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

อ่านต่อได้ที่ : https://www.thairath.co.th/content/1307341

อาคม ขีดเส้นสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-สีชมพูต้องเสร็จตามแผน

‘อาคม’ ขีดเส้นสร้างรถไฟฟ้าเสร็จภายในกำหนด หลังติดปัญหาเรื่องส่งมอบพื้นที่ล่าช้า 3 เดือน  ด้านรฟม.เผยเตรียมเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้แสนล้านภายในไตรมาส 3

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ มว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างกรมทางหลวง(ทล.) กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และอนุญาตให้ใช้พื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้หลังจากตกลงเรื่องการเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้แล้ว โดยการใช้พื้นที่ไม่รบกวนพื้นผิวถนนมากนักเป็นการขอแบ่งพื้นที่ในเขตที่มีอยู่อย่างจำกัดและไม่รบกวนผุ้ใช้ทางเท้าด้วย ขณะเดียวกันเนื่องจากปัญหารถติดในกรุงเทพมหานครยังเป็นปัญหาที่สำคัญจึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าให้สำเร็จตามแผนกำหนดการที่วางไว้ ภายในเดือนตุลาคม ปี2564

อย่างไรก็ตามภายหลังการลงนามในครั้งนี้ กรมทางหลวงจะส่งมอบพื้นที่ถนนที่เส้นทางรถไฟฟ้าทั้งสองสายวิ่งผ่านให้แก่รฟม. สำหรับระยะเวลาใช้พื้นที่ถนนของกรมทางหลวง 39 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายนนี้ เป็นต้นไป ซึ่งล่าช้าไปประมาณ 3 เดือน โดยกรมทางหลวงได้ส่งมอบพื้นที่ใช้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงติวานนท์ – แจ้ววัฒนะ และช่วงหลักสี่-รามอินทรา ส่วนสายสีเหลือง ส่งมอบช่วงศรีนครินทร์ ขณะที่ เส้นทางก่อสร้างสายสีเหลือง เจ้าของพื้นที่มีทั้งกรมทางหลวงและกทม. ซึ่งกทม.ได้ส่งมอบพื้นที่บริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว และแยกลำสาลี เข้าถนนศรีนครินทร์

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ระยะทางทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร รวม 30 สถานี ซึ่งเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ บริเวณใกล้แยกแคราย วิ่งไปตามถนนติวานนท์จนถึงห้าแยกปากเกร็ด จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะผ่านเมืองทองธานี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่แยกหลักสี่บริเวณริมถนนวิภาวดีรังสิต และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ บนถนนพหลโยธิน บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากนั้นวิ่งไปบนถนนรามอินทราจนถึงแยกมีนบุรี แล้ววิ่งเข้าสู่เมืองมีนบุรี ตามแนวถนนสีหบุรานุกิจ จนถึงสะพานข้ามคลองสามวา จึงเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบและข้ามถนนรามคำแหง หรือถนนสุขาภิบาล 3 สิ้นสุดสถานีปลายทางที่บริเวณใกล้แยกถนนรามคำแหง-ร่มเกล้า ซึ่งจะบรรจบกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร รวม 23 สถานี แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว – พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ – สำโรง หรือโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง โดยเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสายสีน้ำเงินที่สถานีรัชดา (สถานีลาดพร้าวของสายสีน้ำเงิน) กับระบบขนส่งมวลชน 4 สาย คือ สายสีเทาของกรุงเทพ สายสีส้มบริเวณทางแยกลำสาลี รถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 และสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง ทั้งนี้ รฟม.กำหนดเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูในเดือนต.ค. 64

อย่างไรก็ตามส่วนด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.01 แสนล้านบาทนั้นคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลงานโยธาได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้และจะสรุปผลการประมูลในช่วงต้นปี 2562 ทั้งนี้ งานดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 6 สัญญา ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี เนื่องจากมีส่วนที่ลงใต้ดินค่อนข้างมากอย่างไรก็ตามหากเป็นเอกชนรายใหม่เข้ามาเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ส่วนต่อขยายนี้ก็อาจจะมีผลต่อต้นทุนงานเดินรถ เนื่องจากปัจจุบัน บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ อยู่

 

อ่านต่อได้ที่ : https://www.thaipost.net/main/detail/11329

ดีเดย์! ปี 2564 เปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู

รฟม.มั่นใจเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-สายสีชมพูได้ในปี 2564 แม้จะมีปัญหาการส่งมอบพื้นที่จนทำให้การก่อสร้างล่าช้า 3 เดือน

วันนี้ (13 มิ.ย.2561) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ต้องไม่กระทบผู้ใช้ถนนและต้องรักษาพื้นที่ทางเท้า รวมถึงต้องหารือกับตำรวจจราจรเพื่อจัดการจราจรให้กระทบผู้ใช้ถนนน้อยที่สุด


ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาส ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ระบุว่า แม้ว่าการส่งมอบพื้นที่จะล่าช้าไปประมาณ 3 เดือน แต่คาดว่ารถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทางจะก่อสร้างเสร็จในเดือน ต.ค.2564

สำหรับภาพรวมการก่อสร้างทั้งหมดประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียวช่วงแบริ่ง- สมุทรปราการ จะเปิดเดินรถปลายปีนี้ ส่วนช่วงหมอชิต- สะพานใหม่ – คูคต จะเปิดให้บริการปี 2563


โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินระยะที่ 1 เจะปิดเดินรถสายใต้ ช่วงหัวลำโพง – ท่าพระ – หลักสองในเดือนกันยายน 2562 และระยะที่ 2 เปิดเดินรถสายเหนือ ช่วงเตาปูน – ท่าพระ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563

โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต จะเปิดให้บริการเดือนตุลาคม 2563 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดเปิดให้บริการปี 2566

เริ่มคืนนี้ – 10 ก.ค.61 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีความจำเป็น ต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 101 ถึง ซอยลาดพร้าว 101/1ช่องที่ 2 และช่องที่ 3 เพื่อขนย้ายเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่ดำเนินงาน

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 101 ถึง ซอยลาดพร้าว 101/1ช่องที่ 2 และช่องที่ 3 (นับจากเกาะกลาง) โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสัญจรได้ในช่องทางที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) และช่องทางที่ 4 (ชิดทางเท้า) ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2561 ถึง 10 กรกฎาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค และในเวลา 22.00 – 04.00 น. จะปิดการจราจรช่องทางที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) เพิ่มอีก 1 ช่องจราจร เพื่อขนย้ายเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่ดำเนินงาน

ทั้งนี้ต้องขออภัยในความไม่สะดวก

อ่านต่อได้ที่ : http://www.fm91bkk.com/