ชมพู-เหลืองต้นแบบรถไฟฟ้าภูเก็ต

จ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์แนวทางให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟรางเบา หรือ แทรมจ.ภูเก็ต คาดใช้รูปแบบคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพู ได้ข้อสรุปชัดใน 4 เดือน ก่อนเสนอครม.อนุมัติ

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)แจ้งว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟรางเบา (LightRail Transit หรือ Tramway) หรือแทรมจ.ภูเก็ตช่วงท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลองวงเงิน 3.94หมื่น หนึ่งในแพคเกจร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลกับเอกชนระยะเร่งด่วน(PPP Fast Track) ที่คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(บอร์ดพีพีพี) ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ ได้สั่งการให้รฟม.เร่งดำเนินการนั้น

ขณะนี้ได้คัดเลือกสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(บริษัทหลัก) ร่วมกับบริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด และบริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาศึกษาและวิเคราะห์แนวทางให้เอกชนร่วมลงทุนวงเงิน 40 ล้านบาทแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาราว 4เดือนก่อนเสนอผลการศึกษาให้ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟม.เห็นชอบก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ภายในปีนี้ หากได้รับอนุมัติจะต้องดำเนินการตั้งคณะกรรมการมาตรา35 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ56) เพื่อเข้ามาคัดเลือกเอกชนต่อไป

ายงานข่าวแจ้งต่อว่า แนวทางการร่วมทุนคาดว่าจะใช้รูปแบบคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง)และรถไฟฟ้าสายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี) เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในรูปแบบPPP Net Cost โดยภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสนับสนุนวงเงินลงทุนบางส่วน และภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธาค่างานระบบและขบวนรถไฟฟ้า และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรวมทั้งให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง แต่ต้องรอสรุปผลการศึกษาที่ชัดเจนอีกครั้ง

อย่างไรก็ตามรฟม.ยินดีเปิดกว้างให้เอกชนท้องถิ่นที่มีศักยภาพและสนใจเข้ามาร่วมประมูลโครงการโดยรฟม.จะไปศึกษาแนวทางการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาจ.ขอนแก่นว่าเอกชนท้องถิ่นมีแนวทางความร่วมมือลงทุนกันอย่างไร จำเป็นต้องจดทะเบียนเพื่อก่อตั้งบริษัทที่ประกอบด้วยผู้ถือหุ้นจากเทศบาลและนักลงทุนแบบบริษัท ขอนแก่น ทรานซิทซิสเท็มส์ฯ หรือ เคเคทีเอส (KKTS) หรือไม่

สำหรับรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ตคาดว่าจะมีผู้โดยสารเทื่อเปิดบริการคาดว่าจะมีผู้โดยสารราว 70,000คนต่อวัน มีจุดเริ่มต้นบริเวณสถานีรถไฟท่านุ่น จ.พังงาเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟและมีจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณห้าแยกฉลองจ.ภูเก็ต(บนถนนเจ้าฟ้าตะวันออก ห่างจากห้าแยกฉลอง 200เมตร) มี24 สถานี รวมระยะทาง 58.5 กม.คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างเฟสแรกช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลองใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี มี 6 ทางลอดและ 1 สถานียกระดับ ที่สนามบินนานาชาติภูเก็ต

อ่านต่อได้ที่ : https://dailynews.co.th/economic/648429

คืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีเหลือง สร้าง3ปี3เดือนทันใช้ปี 64

รฟม. แจ้งย้ายจุดกลับรถลาดพร้าว 116 เริ่ม 10 มิ.ย.นี้ รื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง วงเงินลงทุนกว่า 5 หมื่นล้าน สร้าง 3 ปี 3 เดือน คาดเปิดให้บริการปี 64

สืบเนื่องจากกรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เร่งรัดแผนงานจากกำหนดการเดิมในปี พ.ศ. 2572 มาอยู่ในช่วงแผนงานปัจจุบัน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนลาดพร้าว คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2564 ซึ่งจะเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว มีแนวเส้นทางอยู่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ และสิ้นสุดเส้นทางในจ.สมุทรปราการ

โดยประกอบไปด้วยสถานีทั้งหมด 23 แห่ง มี 4 สถานีเชื่อมต่อสถานีหลัก 1.สถานีรัชดา เชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล 2.สถานีลำสาลี เชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 3.สถานีพัฒนาการ เชื่อมต่อแอร์ฟอร์ตเรลลิงค์ และรถไฟสายตะวันออก และ 4.สถานีสำโรง เชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 30.4 กม. โรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง

ความคืบหน้า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความจำเป็นต้องย้ายจุดกลับรถบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 116 (ชั่วคราว) ตลอด 24 ชม. ตั้งแต่วันที่ 10-25 มิ.ย. เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ขอให้ผู้ใช้เส้นทาง ฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออก ใช้จุดกลับรถที่ปากซอยลาดพร้าว 95 (บริเวณหน้าฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต) เป็นการทดแทน

อย่างไรก็ตาม จำนวนวงเงินลงทุน แบ่งออกเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,013 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 23,206 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 22,591 ล้านบาท รวมเป็น 51,810 ล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรวมเป็นเวลา 33 ปี 3 เดือน อันได้แก่ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และ ระยะเวลาเดินรถ 30 ปี.

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/economic/648127

รฟม. แจ้งย้ายจุดกลับรถ (ชั่วคราว) 24 ชั่วโมง บริเวณซอยลาดพร้าว 116 เริ่ม 10 มิ.ย. นี้ เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องย้ายจุดกลับรถบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 116 (ชั่วคราว) ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2561 ถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2561 เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค

จากการย้ายจุดกลับรถ (ชั่วคราว) บริเวณซอยลาดพร้าว 116 ตลอด 24 ชั่วโมง ขอให้ผู้ใช้เส้นทาง ฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออก ใช้จุดกลับรถที่ปากซอยลาดพร้าว 95 (บริเวณหน้าฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต) เป็นการทดแทน

ทั้งนี้ การย้ายจุดกลับรถและเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจร ได้ที่เบอร์โทร 0 2610 4915 และ 09 8257 5555

———————————————————————————-

 

กองสื่อสารองค์กร สำนักผู้ว่าการ

โทร 0 2716 4000 ต่อ 1720

โทรสาร 0 2716 4019

Email : pr@mrta.co.th

ผลศึกษารถไฟฟ้าส่วนต่อขยายใกล้แล้วเสร็จ

ผลการศึกษาชมพู-เหลือง ใกล้แล้วเสร็จ รฟม.เตรียมชงบอร์ดอนุมัติ เดือนก.ค.นี้

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)แจ้งถึงความคืบหน้าส่วนต่อขยายสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี จากสถานีศรีรัชเข้าไปที่เมืองทองธานี และโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ต่อขยายเส้นทางไปตามถนนรัชดาภิเษกสิ้นสุดบริเวณแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม.ว่า ขณะนี้ผลการศึกษาส่วนต่อขยายทั้ง2เส้นทางใกล้แล้วเสร็จแล้วทั้งผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งการออกแบบแนวเส้นทางการก่อสร้าง ซึ่งรฟม.เตรียมจะเสนอเข้าคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟม.พิจารณาเห็นชอบโครงการภายในเดือนก.ค.นี้ และจะเสนอต่อไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอต่อไปยังคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เห็นชอบโครงการ ถ้าคจร. มีความเห็นเพิ่มเติมต้องกลับมาพิจารณาอีกครั้ง
จากนั้นรฟม.จะเสนอต่อไปยังคณะกรรมการมาตรา43 เพื่อให้พิจารณาโครงการว่าจะให้โครงการส่วนต่อขยายเป็นโครงการสายสีชมพูและเหลืองเดิม หรือจะให้เป็นโครงการใหม่ ซึ่งหากเป็นโครงการใหม่ก็จะต้องดำเนินประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างต่อไป

รายงานข่าวแจ้งต่อว่าเบื้องต้นส่วนต่อขยายนั้น กิจการร่วมค้าบีทีเอสอาร์ ผู้รับสัมปทานก่อสร้างและเดินรถสายสีชมพูและเหลือง จะดำเนินการก่อสร้างเอง โดยประเมินค่าก่อสร้างประมาณ 6 พันล้านบาท แต่เนื่องจากโครงการดังกล่าวจะดำเนินการได้ต้องให้รฟม.เป็นผู้เสนอโครงการ จึงต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาโดยภาครัฐ ทั้งนี้สำหรับระยะเวลาการก่อสร้างส่วนต่อขยายนั้นรฟม.ตั้งใจจะให้ก่อสร้างแล้วเสร็จใกล้เคียงกับเส้นทางสายสีชมพูและเหลืองที่กำลังก่อสร้างอยู่ขณะนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก

อ่านต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/economic/647551

รฟม. แจ้งปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 101 ถึง ซอยลาดพร้าว 101/1 เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2561 ถึง 10 กรกฎาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง

รฟม. แจ้งปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 101 ถึง ซอยลาดพร้าว 101/1

เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

  ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2561 ถึง 10 กรกฎาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์  คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 101 ถึง ซอยลาดพร้าว 101/1 ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2561 ถึง 10 กรกฎาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ปิดการจราจร ตลอด 24 ชั่วโมง ฝั่งขาเข้า มุ่งหน้าแยกรัชดา – ลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 101 ถึง ซอยลาดพร้าว 101/1 ช่องที่ 2 และช่องที่ 3 (นับจากเกาะกลาง) โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสัญจรได้ในช่องทางที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) และช่องทางที่ 4 (ชิดทางเท้า)

และในเวลา 22.00 – 04.00 น. จะปิดการจราจรช่องทางที่ 1 (ชิดเกาะกลาง) เพิ่มอีก 1 ช่องจราจร เพื่อขนย้ายเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่ดำเนินงาน

ทั้งนี้ การเบี่ยงจราจรเพื่อการเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการดำเนินงานอาจมีเสียงดังรบกวน ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจร ได้ที่เบอร์โทร 0 2610 4915 และ 09 8257 5555

———————————————————————————-

กองสื่อสารองค์กร สำนักผู้ว่าการ

โทร 0 2716 4000 ต่อ 1720

โทรสาร 0 2716 4019

Email : pr@mrta.co.th

อ่านต่อได้ที่ : http://www.fm91bkk.com/

อ่านต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/economic/647420

อ่านต่อได้ที่ : http://www.banmuang.co.th/news/economy/113860

เริ่ม 5 มิ.ย.นี้ รฟม.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ปิดเบี่ยงจราจร ซอย36 – 30 ถ.ศรีนครินทร์ ขาเข้า เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค .. หลัง04.00 น. เปิดจราจรปกติ

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการปิดเบี่ยงจราจร บนถนนศรีนครินทร์

ในวันที่ 5 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป ช่วงเวลา 22.00 – 04.00 น. ทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องใช้ผิวจราจรบนถนนศรีนครินทร์ 2 ช่องทางขวา ชิดเกาะกลาง (ฝั่งขาเข้า) ตั้งแต่บริเวณแยกสวนหลวง (ศรีนุช) ถึงบริเวณแยกพรีเมียร์ (ซ.ศรีนครินทร์ 57) เพื่อนำตัวกั้นถนน (Barrier) วางชิดเกาะกลาง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินงานเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค

โดยจะเริ่มต้นดำเนินการวางตัวกั้นถนน (Barrier) ชิดเกาะกลาง จากบริเวณซอยศรีนครินทร์ 36 ถึงซอยศรีนครินทร์ 30 (ฝั่งขาเข้า) มุ่งหน้า แยกสวนหลวง (ศรีนุช) เป็นระยะทางประมาณ 180 เมตร

ทั้งนี้หลังเวลา 04.00 น. สามารถใช้ผิวจราจรได้ตามปกติ ทั้งฝั่งขาเข้า และฝั่งขาออก ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวไม่กระทบต่อผิวจราจรแต่อย่างใด

ทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว – สำโรง ต้องขออภัยในความไม่สะดวก

อ่านต่อได้ที่ : http://www.fm91bkk.com/

รฟม.วางมาตรการป้องกันน้ำท่วมขังช่วงฤดูฝน ในโครงการรถไฟฟ้าทุกสาย

ตามที่ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง การเริ่มต้นฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2561 โดยมีเนื้อหาว่า ฤดูฝนของประเทศไทยในปีนี้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2561 การคาดการณ์สภาพฝนในปี 2561 นี้จะมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและน้ำรอระบายจากฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องนั้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ในฐานะองค์กรภาครัฐที่บริหารงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ได้กำชับให้บริษัทที่ปรึกษาและผู้รับจ้าง งานโยธาของโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 5 สายทาง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้าง ประกอบด้วย 1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงเตาปูน – ท่าพระ 2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต 3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง 5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี เตรียมเฝ้าระวังและดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง เพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้แก่ประชาชนตลอดช่วงฤดูฝนนี้

สำหรับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่ก่อสร้างในช่วงฤดูฝน มีดังนี้
1. เตรียมเครื่องสูบน้ำ เพื่อสนับสนุนสำนักงานเขตและสถานีตำรวจในพื้นที่ในการระบายน้ำที่ท่วมขัง
2. จัดทำทางระบายน้ำชั่วคราวหรือบ่อน้ำขนาดเล็ก เพิ่มศักยภาพในการรองรับปริมาณน้ำฝนรอการระบาย
3. ตรวจสอบสภาพท่อ/ทางระบายน้ำ ลำลาง และคูคลองต่างๆ ตลอดแนวก่อสร้างโครงการฯ หากพบว่ามีการอุดตัน มีดินทรายทับถม หรือมีวัสดุกีดขวาง ต้องดำเนินการขุดลอกโดยทันที
4. จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักร พร้อมจัดหาผ้าใบปกคลุม เพื่อป้องกันเศษดินทรายตกหล่นและไหลลงสู่ทางระบายน้ำ
5. นำรถดูดฝุ่นปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เศษดินหรือฝุ่นละอองตกหล่นไหลลงท่อกีดขวางการระบายน้ำ
6. จัดหน่วยช่วยเหลือฉุกเฉินและบรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือเร่งด่วนเมื่อเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า และช่วยเหลือรถยนต์ที่จอดเสีย

ดยที่ผ่านมาโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 5 สายทาง ได้ดำเนินการตามมาตรการแล้วอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวฯ ได้เสริมระบบระบายน้ำบริเวณพื้นที่รอบวงเวียนหลักสี่ ตั้งแต่กรมทหารขนส่งรักษาพระองค์ จนถึงสถานีดับเพลิงบางเขน โดยปรับเพิ่มขนาดท่อระบายน้ำเป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.20 เมตร และทำช่องรับน้ำจากถนนลงสู่ท่อระบายน้ำชั่วคราว รวมระยะทาง 950 เมตร และได้ดำเนินการเชื่อมท่อระบายน้ำบริเวณแยกรัชโยธิน เพื่อเร่งการระบายน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้โครงการยังจัดกิจกรรม “ลอกท่อระบายน้ำเพื่อคนที่เรารัก” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ดำเนินการขุดลอกท่อ และลำลาง ตลอดแนวพื้นที่ก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม 2561 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ได้จัดเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ก่อสร้างและปากท่อระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เศษดินหรือขยะเข้าไปอุดตันทางระบายน้ำ และเฝ้าระวังเป็นพิเศษในจุดวิกฤตบนถนนลาดพร้าว ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 98 ถึงซอยลาดพร้าว 90 ฝั่งขาเข้าบริเวณหน้าห้างบิ๊กซี ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ มีการเตรียมเครื่องสูบน้ำ เพื่อระบายน้ำที่ท่วมขัง และตรวจสอบสภาพท่อ/ทางระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ รฟม. ได้เน้นย้ำให้บริษัทที่ปรึกษาและผู้รับจ้างงานโยธาทุกโครงการ ดำเนินงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัย และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชมและสังคมเป็นสำคัญ

อ่านต่อได้ที่ : https://siamrath.co.th/n/36855

รฟม.เข้มปลอดภัยทำงานช่วงหน้าฝน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าตามที่ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง การเริ่มต้นฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2561 โดยมีเนื้อหาว่า ฤดูฝนของประเทศไทยในปีนี้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2561 การคาดการณ์สภาพฝนในปี 2561 นี้จะมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและน้ำรอระบายจากฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องนั้น รฟม. ได้กำชับให้บริษัทที่ปรึกษาและผู้รับจ้าง งานโยธาของโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 5 สายทาง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้าง ประกอบด้วย 1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงเตาปูน – ท่าพระ 2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต 3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง 5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี เตรียมเฝ้าระวังและดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง เพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้แก่ประชาชนตลอดช่วงฤดูฝนนี้

โดยการเตรียมเครื่องสูบน้ำ เพื่อสนับสนุนสำนักงานเขตและสถานีตำรวจในพื้นที่ในการระบายน้ำที่ท่วมขัง จัดทำทางระบายน้ำชั่วคราวหรือบ่อน้ำขนาดเล็ก เพิ่มศักยภาพในการรองรับปริมาณน้ำฝนรอการระบาย ตรวจสอบสภาพท่อ/ทางระบายน้ำ ลำลาง และคูคลองต่างๆ ตลอดแนวก่อสร้างโครงการฯ จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักร พร้อมจัดหาผ้าใบปกคลุมเป็นตัน โดยที่ผ่านมาโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 5 สายทาง ได้ดำเนินการตามมาตรการแล้วอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ รฟม. ได้เน้นย้ำให้บริษัทที่ปรึกษาและผู้รับจ้างงานโยธาทุกโครงการ ดำเนินงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัย และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชมและสังคมเป็นสำคัญ

อ่านต่อได้ที่ : https://www.innnews.co.th/breaking-news/news_100896/

รฟม. วางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังช่วงฤดูฝน ในโครงการรถไฟฟ้าทุกสาย

ตามที่ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง การเริ่มต้นฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2561 โดยมีเนื้อหาว่า ฤดูฝนของประเทศไทยในปีนี้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2561 การคาดการณ์สภาพฝนในปี 2561 นี้จะมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและน้ำรอระบายจากฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องนั้น
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ในฐานะองค์กรภาครัฐที่บริหารงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ได้กำชับให้บริษัทที่ปรึกษาและผู้รับจ้าง งานโยธาของโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 5 สายทาง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้าง ประกอบด้วย 1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และ ช่วงเตาปูน – ท่าพระ 2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต 3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง 5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี เตรียมเฝ้าระวังและดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง เพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้แก่ประชาชนตลอดช่วงฤดูฝนนี้
สำหรับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่ก่อสร้างในช่วงฤดูฝน มีดังนี้
1. เตรียมเครื่องสูบน้ำ เพื่อสนับสนุนสำนักงานเขตและสถานีตำรวจในพื้นที่ในการระบายน้ำที่ท่วมขัง
2. จัดทำทางระบายน้ำชั่วคราวหรือบ่อน้ำขนาดเล็ก เพิ่มศักยภาพในการรองรับปริมาณน้ำฝนรอ การระบาย
3. ตรวจสอบสภาพท่อ/ทางระบายน้ำ ลำลาง และคูคลองต่างๆ ตลอดแนวก่อสร้างโครงการฯ หากพบว่ามีการอุดตัน มีดินทรายทับถม หรือมีวัสดุกีดขวาง ต้องดำเนินการขุดลอกโดยทันที
4. จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักร พร้อมจัดหาผ้าใบปกคลุม เพื่อป้องกันเศษดินทราย ตกหล่นและไหลลงสู่ทางระบายน้ำ
5. นำรถดูดฝุ่นปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เศษดินหรือฝุ่นละอองตกหล่นไหลลงท่อ กีดขวางการระบายน้ำ
6. จัดหน่วยช่วยเหลือฉุกเฉินและบรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือเร่งด่วนเมื่อเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า และช่วยเหลือรถยนต์ที่จอดเสีย
โดยที่ผ่านมาโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 5 สายทาง ได้ดำเนินการตามมาตรการแล้วอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวฯ ได้เสริมระบบระบายน้ำบริเวณพื้นที่รอบวงเวียนหลักสี่ ตั้งแต่กรมทหารขนส่งรักษาพระองค์ จนถึงสถานีดับเพลิงบางเขน โดยปรับเพิ่มขนาดท่อระบายน้ำเป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.20 เมตร และทำช่องรับน้ำจากถนนลงสู่ท่อระบายน้ำชั่วคราว รวมระยะทาง 950 เมตร และได้ดำเนินการเชื่อมท่อระบายน้ำบริเวณแยกรัชโยธิน เพื่อเร่งการระบายน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้โครงการยังจัดกิจกรรม “ลอกท่อระบายน้ำเพื่อคนที่เรารัก” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ดำเนินการขุดลอกท่อ และลำลาง ตลอดแนวพื้นที่ก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม 2561 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ได้จัดเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ก่อสร้างและปากท่อระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เศษดินหรือขยะเข้าไปอุดตันทางระบายน้ำ และเฝ้าระวังเป็นพิเศษในจุดวิกฤตบนถนนลาดพร้าว ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 98 ถึงซอยลาดพร้าว 90 ฝั่งขาเข้าบริเวณหน้าห้างบิ๊กซี ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ มีการเตรียมเครื่องสูบน้ำ เพื่อระบายน้ำที่ท่วมขัง และตรวจสอบสภาพท่อ/ทางระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ รฟม. ได้เน้นย้ำให้บริษัทที่ปรึกษาและผู้รับจ้างงานโยธาทุกโครงการ ดำเนินงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัย และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชมและสังคมเป็นสำคัญ เพื่อส่งมอบความสุขให้กับพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน
อ่านต่อได้ที่ : http://www.fm91bkk.com/

25 พ.ค.-16 มิ.ย.61 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ยกเลิกสัญญาณไฟจราจร ลาดพร้าว64 เพื่อเตรียมรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็น ต้องยกเลิกสัญญาณไฟจราจร ชั่วคราว บริเวณซอยลาดพร้าว 64 ตั้งแต่ วันที่ 25 พ.ค 61 ถึง วันที่ 16 มิ.ย 61

ทั้งนี้ทางโครงการได้ทำจุดกลับรถทดแทนให้ใหม่โดย ฝั่งขาเข้า ให้ผู้ใช้ทางที่ต้องการเลี้ยวขวาไปแยกบางกะปิ ไปใช้จุดกลับรถที่บริเวณซอยลาดพร้าว 55/2 และฝั่งขาออก ให้ผู้ใช้ทางที่ต้องการเลี้ยวขวาเข้าซอยลาดพร้าว 64 ไปใช้จุดกลับรถที่บริเวณซอยลาดพร้าว 80 ทดแทนค่ะ เพื่อเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ทั้งนี้ต้องขออภัยในความไม่สะดวก สำหรับผู้ใช้เส้นทาง

อ่านต่อได้ที่ : http://www.fm91bkk.com/